Get Adobe Flash player

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Login Form


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Search


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Contact Us

Sumter Forest Temple

2275 Thomas Sumter Hwy.

Sumter, SC 29153

Tel. 803-469-2494

E-mail: sumterforesttempe@hotmail.com


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Banners


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Visitors Counter

1090793
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
31
123
249
380893
4361
3765
1090793

Your IP: 54.225.1.66
2024-03-19 04:30

Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/functions.php on line 185

Introduction to Theravada Buddhism

The name of the founder of what is known in the West as Buddhism, was Gotama, this being the name of the clan or family to which he belonged. The word "Buddha" means awakened, or enlightened one, and is not a name but a title of honor bestowed upon the sage Gotama who attained enlightenment under the Bodhi Tree at Bodhigaya in India.

The Buddha laid stress on human dignity, and taught the worth of the human being. A Buddha in the making is a Boddhisatta, and as a Boddhisatta through countless births he suffered all, sacrificed all, and fulfilled every perfection, so that on some distant day he might achieve this unique goal, the goal of winning - not only for himself, but for all beings - deliverance from the heavy burdens of birth, old age, disease, and death. The Buddha himself tells us of his origin, and how it started with an inflexible, aspiring resolve ; he tells us of the gradual perfection of the flux that made the aspiration, and how finally he won full enlightenment. In this way, instead of disheartening his followers and reserving that exalted state only to himself, the Buddha encouraged and induced them to follow his noble example.

อ่านเพิ่มเติม: Introduction to Theravada Buddhism

What Dhamma Do We Practice?

When you study this Saṅkhitta Sutta or discourse (AN 8.53, A iv 280) carefully, you will see what kind of Dhamma or doctrine the monastic personnel who live homeless lives should carry out and put into practice in their walks along the path to enlightenment or Nirvana.

On one occasion, the Bhagavā (a common title of the Buddha) was dwelling at Vesāli, in the Great Forest, in the Hall with the Peaked Roof. Then, Mahāpajāpatī Gotamī approached the Bhagavā; having drawn near, she paid homage to the Bhagavā and stood on one side. Standing on one side, Mahāpajāpatī Gotamī addressed the Bhagavā thus:

– It would be good, Bhante, if the Bhagavā taught me the Dhamma in brief, so that, having heard the Dhamma from the Bhagavā, I may dwell solitary, secluded, diligent, ardent and resolute.

– Of these dhammas, Gotami, of which you may know: 'These dhammas are conducive to passion, not to virāga; conducive to being fettered, not to being unfettered; conducive to accumulation, not to diminution; conducive to mahicchata , not to appicchata; conducive to dissatisfaction, not to satisfaction; conducive to socialization, not to solitude; conducive to laziness, not to application of vīriya; conducive to being burdensome, not to being non-burdensome', you can definitely hold: 'This is not the Dhamma, this is not the Vinaya, this is not the instruction of the Teacher'.

Of these dhammas, Gotami, of which you may know: 'These dhammas are conducive to virāga (eradication of lust or sensual pleasures), not to passion; conducive to being unfettered, not to being fettered; conducive to diminution, not to accumulation; conducive to appicchata (moderation and modesty), not to mahicchata (greater desires and ambition); conducive to satisfaction, not to dissatisfaction; conducive to solitude, not to socialization; conducive to application of vīriya (effort), not to laziness; conducive to being non-burdensome, not to being burdensome', you can definitely hold: 'This is the Dhamma, this is the Vinaya, this is the instruction of the Teacher'.

ควันหลงวันวาเลนไทน์

valentine

และแล้ววันแห่งความรักก็ผ่านพ้นไปพร้อมๆ กับโลกียวิสัยที่ไม่เคยหยุดนิ่ง วันวาเลนไทน์ที่ผ่านมาอาจเป็นทั้งช่วงเวลาและประสบการณ์ที่ชื่นชมและขมขื่น บางคนอาจสมหวังกับความรัก บางคนอาจจะอกหักรักร้างรา ภายใต้กฎของธรรมชาติ สิ่งที่แน่นอนที่สุดคือความไม่แน่นอน วันนี้รักวันหน้าอาจเกลียด วันนี้ชังวันหน้าอาจชอบ วันนี้สมหวังวันหน้าอาจผิดหวัง เพราะทุกอย่างถูกกำหนดด้วยความเปลี่ยนแปลง

อ่านเพิ่มเติม: ควันหลงวันวาเลนไทน์

หนังสือ "บันทึกการเดินทาง ณ เเดนพุทธภูมิ"

ภาพคณะจาริกบุญ ณ เเดนพุทธภูมิ

ครั้งแรกของหัวใจ และครั้งแรกของชีวิต ที่ได้เดินทางร่วมจาริกบุญ จารึกธรรม ณ แดนพุทธภูมิ ตามรอยบาทพระศาสดา กราบนมัสการพุทธสังเวชนียสถาน 4 ตำบล คือ สถานที่ประสูติ –ตรัสรู้-ปฐมเทศนา-ปรินิพพาน ด้วยพลังศรัทธาและความเชื่อมั่นในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งตัวผู้เขียนเอง ซึ่งได้ปณิธานตั้งใจไว้หลายปีก่อนว่า "สักวันหนึ่ง เราจะต้องไปอินเดีย" วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่าผ่านไป แหละวันที่รอคอยก็มาถึง แม้จังหวะหัวใจจะตื่นเต้นก็ตาม แต่หัวใจดวงนี้ เป็นหัวใจแห่งการเดินทาง พร้อมที่จะออกเดินทางได้ทุกวินาที

วันที่ 8 มีนาคม 2554 เวลาเย็น คณะพวกเราได้นัดรวมกันที่สนามบินชั้นขาออก พอเจ้าหน้าที่ชั่งน้ำหนักกระเป๋าเดินทาง พร้อมทั้งตรวจสอบพาสพอร์ตเสร็จแล้ว จากนั้นคณะเราเดินเข้าไปข้างใน ผ่านด่านเครื่องสแกน แล้วไปนั่งรอที่ประตูขึ้นเครื่องสำหรับผู้โดยสาร จนได้เวลาออกเดินทางจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิโดยสายการบินเจ็ตแอร์เวย์ (Jet Airways) มุ่งหน้าสู่อินเดีย เมื่อเครื่องบินแตะรันเวย์ ท่าอากาศยานนานาชาติดัม ดัม เมืองโกลกัตต้า (Kolkata) เดิมเมืองนี้ชื่อว่า "เมืองกัลกัตต้า" ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงเก่าของอินเดีย ก้าวแรกที่สัมผัสเมืองกัลกัตต้า กลิ่นแขก ล่องลอยมาตามลมกระทบที่จมูกทันที เหมือนจะบอกให้รู้ว่ามาถึงอินเดียแล้วนะ หลังผ่านการตรวจคนเข้าเมืองและด่านศุลกากรแล้ว ก็ไปขึ้นรถโค้ชปรับอากาศชั้นหนึ่ง แต่ไม่มีห้องน้ำ ซึ่งจอดรอคณะทัวร์กรุ๊ปนี้อยู่ที่ลานจอดรถสนามบิน ซึ่งเป้าหมายเดินทางจะมุ่งหน้าสู่พุทธคยาเป็นจุดแรกของทริปนี้

ระหว่างการเดินทางต้องใช้เวลานานเป็นสิบชั่วโมง จากเมืองกัลกัตต้าสู่พุทธคยา เพราะระยะทางจะห่างไกลด้วย และรถใช้ความเร็วได้ประมาณ 40-50 กม./ชั่วโมง เนื่องจากผู้ขับต้องระวังคนบนถนนบ้าง วัวบ้าง เกวียนบ้าง โชเฟอร์บีบแตรรถสนั่นหวั่นไหวเป็นระยะๆเพื่อเบิกทาง เตือนให้ผู้คนระวัง อย่าประมาท นี่เป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของคนอินเดีย

ขณะที่นั่งบนรถนั้น เป็นเวลาตอนกลางคืน ต้องนอนบนรถ จนถึงตอนเช้ารุ่งอรุณของวันใหม่ (9 มี.ค.2554) รถก็ยังวิ่งบนถนน ยังไม่ถึงปลายทางสักที ร่างกายเริ่มอ่อนเพลีย ด้วยการผักผ่อนไม่เต็มที่หลับๆตื่นๆ ได้เวลาทำกิจส่วนตัว รถก็จอดให้ลงอุจจาระ ปัสสาวะ ข้างถนน ซึ่งเป็นทุ่งโล่ง ไม่มีที่กำบัง ได้บรรยากาศไปอีกอย่าง ซึ่งวิถีชีวิตคนอินเดีย ตามชนบท จะดำเนินชีวิตแบบง่ายๆ กินง่าย อยู่ง่าย ถ่ายง่าย นิยมกันข้างถนนโล่งๆ ไม่อายใคร และไม่สนใจใคร จะลงรถแต่ละครั้งต้องระวังเหยียบขี้แขก ต้องมีสติตลอดเวลาในการก้าวย่าง เมื่อมาถึงอินเดีย จึงเข้าสัจธรรมของชีวิตมากยิ่งขึ้น และต้องใช้สติมากขึ้น จะกินอะไร ก็ต้องระวังมากขึ้น กลัวท้องเสีย เดี๋ยวต้องเข้าห้องน้ำตามทุ่งหญ้า ทุ่งนา ซึ่งมีท้องฟ้าเป็นเครื่องกำบัง

การเดินทางสู่อินเดียครั้งนี้ ทำให้ได้ข้อคิดหลายอย่างในการดำเนินชีวิตของคนอินเดีย คือ คนอินเดียเป็นคนเรียบง่าย ใช้ชีวิตง่ายๆ ดำเนินเศรษฐกิจพอเพียง พอใจในสิ่งที่ตนเองมี พอใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่ มองดูแล้วคงจะมีความสุข อยากกิน-กิน อยากนอน-นอน อยากถ่าย-ถ่าย ตรงนี้แหละทำให้พูดได้เต็มปากว่า "ออริจินอลของมนุษย์"

จะอย่างไรก็ตาม สังคมอินเดีย เป็นสังคมที่ทำให้ผู้คนที่พบเห็นได้สัจธรรมในชีวิต หลายคนจึงเดินทางมาอินเดียบ่อยๆ เพื่อจะเข้าใจในหลักธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงตรัสไว้ เมื่อคณะทัวร์มาถึงพุทธคยา สถานที่ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เหลียวมองเห็นมหาเจดีย์สูงเด่นตระหง่านตา ประกอบไปด้วยสถาปัตยกรรมที่สวยงาม

เวลาประมาณ 10.00 น. เดินทางถึงพุทธคยา พอลงจากรถเท่านั่นแหละ คนขอทานไม่รู้มาจากไหนกัน วิ่งมาขอตังค์ เราไปไหนก็เดินตาม จะให้ก็ไม่กล้าให้ เพราะถ้าให้คนหนึ่ง คนอื่นก็ต้องรุมมาแย่งขอ ถ้าไม่ให้ทุกคน ปัญหาจะตามมาทันที ฉะนั้นต้องทำใจให้เข้มแข็ง จึงตัดสินใจไม่ให้ดีกว่า ถึงแม้หัวใจ จะอดสงสารไม่ได้ แต่ก็ต้องทำใจ

ถนนแต่ละสายเกลื่อนไปด้วยคนขอทาน โดยปกติถ้ามีผู้ขอ คนอีกส่วนหนึ่งก็จะดำเนินวิถีชีวิต "ผู้ให้" มันเป็นการดำรงวิถีชีวิต เพื่อสร้างความสมดุลให้กับสังคมอินเดีย มีคนให้ข้อคิดว่า "ถ้าไม่มีขอทานแล้ว อีกคนพันกว่าล้านของอินเดีย จะสืบสานวัฒนธรรมวรรณะให้คงอยู่อย่างมีความหมายได้อย่างไร"

คณะทัวร์พวกเราเดินทางสู่วัดป่าพุทธคยาด้วยเท้า ซึ่งรถบัสไม่สามารถวิ่งเข้าวัดได้ เพราะถนนหน้าวัดแคบและใกล้บริเวณมหาโพธิเจดีย์ วัดป่าพุทธคยาเป็นวัดไทยที่ใหญ่ มีอุโบสถสวยงาม สามารถมองจากวัดไปเห็นยอดมหาโพธิเจดีย์ได้ พอดีได้เวลาฉันเพล ผู้จัดทัวร์ พร้อมทั้งแม่ชีในวัด ได้เตรียมอาหารถวาย และมีเมนูพิเศษคือข้าวมธุปายาส อาตมาได้ลองชิมดู รสชาดแปลกดี เมื่อฉันเพลเสร็จแล้ว ก็ลากกระเป๋าเดินทางไปที่พักซึ่งเป็นอาคารหลังใหญ่ ซึ่งทางวัดสร้างไว้ต้อนรับคณะทัวร์ที่แวะมาพักอาศัยเป็นประจำเรื่อยมา

ช่วงเวลาเย็น กลุ่มเพื่อนสหธรรมิกที่มาร่วมกัน ชวนกันไปเดินดูบริเวณมหาโพธิเจดีย์ ภายในเจดีย์ มีพระพุทธเมตตา เป็นพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งผู้คนทั่วโลกหลั่งไหลมากราบไหว้เป็นประจำ ด้านหลังเจดีย์ มีต้นพระศรีมหาโพธิ์ พวกเราเดินเวียนรอบเจดีย์สามรอบ แล้วไปสวดมนต์ นั่งสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ซึ่งบริเวณนี้มีคนจำนวนมาก และมาจากหลายประเทศ เช่น ไทย ศรีลังกา เขมร พม่า จีน ธิเบต ญี่ปุ่น เป็นต้น นั่งอยู่รอบบริเวณเจดีย์ บางกลุ่มก็นั่งเก็บใบโพธิ์เพื่อเก็บไว้เป็นที่ระลึก ขณะที่นั่งสมาธิใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ทำให้หวนระลึกถึงเวลาที่พระพุทธเจ้าตั้งสัจอธิษฐานว่า "แม้เลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป เหลือแต่หนัง เอ็น และกระดูกก็ตามที หากเรายังไม่ได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ก็จะไม่ลุกจากบัลลังก์นี้" สุดท้ายแสงสว่างแห่งปัญญาก็เกิดขึ้นแก่พระองค์ตามลำดับ หรือที่เรียกกันว่า "ญาณ" คือความรู้แจ้งแทงตลอด

  • ญาณที่ 1 เรียกว่า ปุพเพนิวาสานุสติญาณ ความรู้เป็นเหตุให้ระลึกถึงขันธ์ในอดีต คือระลึกชาติได้
  • ญาณที่ 2 เรียกว่า จุตูปปาทญาณ ความรู้ในการจุติและอุบัติของสัตว์โลก คือตาทิพย์
  • ญาณที่ 3 เรียกว่า อาสวักขยญาณ ความรู้ในการขจัดอาสวะกิเลสให้สิ้น

เมื่อญาณทั้ง 3 เกิดขึ้นตามลำดับ ทำให้พระองค์ได้บรรลุอรหันตสัมมาสัมโพธิญาณ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งต่อมาวันนี้ชาวพุทธเรียกว่า "วันวิสาขะ"

ต่อจากนั้น ก็ได้เดินดูรอบๆบริเวณเจดีย์ เห็นกลุ่มพระธิเบตกลุ่มใหญ่กำลังสวดมนต์ ซึ่งพระธิเบตจะศรัทธามาก เวลากราบจะกราบลงทั้งตัว เหมือนนอนก้มกราบ ขึ้นๆลงๆ ซึ่งเรียกว่า "อัฏฐางคประดิษฐ์" คือ หน้าผาก 1 ฝ่ามือทั้ง 2 หน้าอก 1 เข่าทั้ง 2 และปลายเท้าทั้ง 2

เมื่อความมืดเริ่มคืบคลานเข้ามา จึงหันหน้ามุ่งสู่วัดป่าพุทธคยา เพื่อพักผ่อนหลับนอนในค่ำคืนที่เงียบสงัด บางรูปก็มาปักกลดที่บริเวณต้นโพธิ์ ทำความเพียร สวดมนต์ เดินจงกรม นั่งสมาธิทั้งคืน

DSC01582 resize

พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้

พุทธคยา เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นสถานที่เจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ตั้งอยู่ ณ บริเวณที่ใกล้ฝั่งเม่น้ำเนรัญชรา เมืองคยา รัฐพิหาร ตั้งแต่เดิมเรียกว่า คยา หรือคยาสีสะ

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้ตรัสรู้ ซึ่งเป็นต้นที่ 4 นับจากต้นที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ปลูกในสมัยที่อังกฤษปกครองอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2423 เพราะต้นเดิมเก่าแก่ล้มตาย และไม่ใช่เก่าแก่ทำลายลงตามธรรมดา หากถูกภัยจากน้ำมือของคนที่ไม่หวังดี ต้องการทำลายให้พินาศลงไปด้วย

จากบันทึกของท่านสมณฟาเหียน ซึ่งเคยเดินทางมาอินเดีย พ.ศ. 942 เล่าไว้ว่า พระเจ้าอโศกมหาราช ทรงศรัทธา นับถือ หวงแหนต้นศรีมหาโพธิ์อย่างยิ่ง จนลืมพระชายา ต่อมาพระชายทรงโกรธและไม่พอใจเป็นอย่างมาก ด้วยเหตุที่ไม่สนใจพระนาง ครั้นเมื่อพระเจ้าอโศก เสด็จไปประกอบราชกิจที่เมืองอื่น จึงได้โอกาสที่เหมาะ แล้วจ้างคนไปตัดต้นศรีมหาโพธิ์ออกเสีย

เมื่อพระเจ้าอโศกเสด็จกลับมาที่ต้นศรีมหาโพธิ์ ไม่เห็นต้นโพธิ์แล้ว ทรงเสียพระทัยมาก แล้วอธิษฐานว่า "เราจะไม่ยอมลุกขึ้น จนกว่าต้นศรีมหาโพธิ์จะงอกขึ้นมาใหม่" คนทั้งหลายได้นำน้ำนมโคสดมารดที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ต่อมาต้นศรีมหาโพธิ์ ก็งอกขึ้นใหม่

ระยะต่อมา สมัยที่กษัตริย์เบงกอล พระนามว่า สะสังกะ เป็นชาวฮินดู ด้วยความอิจฉาที่พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง จึงได้สั่งให้ตัดโค่นต้นศรีมหาโพธิ์นี้เสีย

ภายหลัง สมัยพระเจ้าปูรณวรมา กษัตริย์ราชวงศ์เมารยะ ทรงปลูกขึ้นแทนต้นที่สอง และเจริญเติบโตอีกครั้งหนึ่ง

เมื่ออินเดียตกอยู่ในการปกครองของอังกฤษ อังกฤษสั่งให้มีการซ่อมวิหารและสถานที่ต่างๆ ระหว่างทำการซ่อมแซมอยู่นั้น ต้นศรีมหาโพธิ์ได้หักโค่นลงมาอีกครั้ง นายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮม จึงขุดเอาต้นเล็กๆที่งอกขึ้นอยู่ใกล้เคียงกันมาปลูกในที่ต้นเดิม จนกระทั่งเติบโต เจริญงอกงามมาจนถึงทุกวันนี้

ส่วนพระแท่นวัชรอาสน์ หรือรัตนบัลลังก์ ที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นหินแท่นหนึ่งวางกับพื้นมีการสลักลวดลาย อยู่ระหว่างต้นศรีมหาโพธิ์กับมหาเจดีย์พุทธคยา พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างแท่นวัชรอาสน์นี้ไว้เป็นอนุสรณ์สืบแทนฟ่อนหญ้าคา 8 กำ ที่โสตถิยะถวายเป็นที่ประทับนั่งใต้ต้นมหาโพธิ์ พระแท่นวัชรอาสน์นี้เคยถูกทำลายตอนต้นศตวรรษที่ 13 นายพลเซอร์ อเล็กซานเดอร์ คันนิ่งแฮมได้บูรณะให้ดีดังเดิม

พระเจดีย์เหลี่ยมหรือมหาโพธิวิหาร

สิ่งก่อสร้างที่สำคัญสูงสุดในพุทธคยา คือ มหาโพธิวิหาร ถ้ามองดูไกลๆประหนึ่งว่าเป็นเจดีย์มหึมา แต่เมื่อเข้าไปดูภายในแล้ว จะรู้ว่าเป็นวิหาร มีพระพุทธรูปอยู่ ถ้าจะเรียกว่าวิหารทรงเจดีย์ก็น่าจะได้ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มหาโพธิเจดีย์ ซึ่งเป็นอนุสรณ์สถานแห่งการตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีลักษณะเป็นเจดีย์ 4 เหลี่ยม สูง 170 ฟุต สูงเด่นตระหง่าน ทำให้ชาวพุทธทั่วโลกแวะมากราบไหว้เป็นประจำ

รุ่งอรุณวันใหม่ (วันที่ 10 มีนาคม 2554) คณะจาริกบุญนัดรวมพลกันที่ศาลา ซึ่งแต่ละท่านก็ลากกระเป๋าเดินทางส่วนตัวมารอกันที่ศาลา เพื่อเตรียมพร้อมที่จะเดินต่อไปสู่สถานที่อื่น ได้เวลาอาหารเช้า นักแสวงบุญทั้งหลายก็ร่วมกันรับประทานอาหาร เมื่อเสร็จแล้ว ก็ยกกระเป๋าเดินทางขึ้นรถคันเล็ก เพื่อจะลำเลียงไปสู่รถบัส ซึ่งจอดรออยู่ถนนใหญ่

คณะจาริกบุญก็เดินทางมุ่งไปสู่รถบัส ผ่านมหาโพธิเจดีย์ และแวะซื้อของที่ระลึก ครั้นซื้อของเสร็จแล้ว ก็ขึ้นรถบัส ออกเดินทางมุ่งสู่บ้านนางสุชาดา มัคคุเทศก์ได้อธิบายประวัติความเป็นมาของนางสุชาดา รถวิ่งผ่านแม่น้ำเนรัญชราซึ่งเหือดแห้งเห็นแต่ทราย จนมาถึงสถูปซึ่งเป็นหมู่บ้านนางสุชาดา คณะทัวร์พวกเราก็ยืนถ่ายภาพหมู่ และเดินวนรอบสถูปแห่งนี้

สถูปบริเวณบ้านนางสุชาดา

ประวัตินางสุชาดาโดยสังเขป

นางเป็นธิดาของเสนียกุฏุมพี ในหมู้บ้านเสนานิคม แห่งตำบนอุรุเวลเสนานิคมา เมื่ออายุย่างเข้าสู่วัยสาว นางได้ทำพิธีบวงสวงต่อเทพยดาที่สิงสถิต ณ ต้นไทรใหญ่ต้นหนึ่งใกล้บ้านของนาง โดยได้ตั้งปณิธานความปรารถนาไว้ 2 ประการ คือ

1.ขอให้ข้าพเจ้าได้สามีที่มีบุญ มีทรัพยสมบัติ และชาติสกุลเสมอกัน

2.ขอให้ข้าพเจ้ามีบุตรคนแรกเป็นชาย

ครั้นกาลต่อมา ความปรารถาของนางสำเร็จทั้งสองประการ โดยได้สามีเป็นเศรษฐีมีฐานะเสมอกัน และได้บุตรคนแรกเป็นชายนามว่า " ยสะ " นางได้ปล่อยเวลาให้ล่วงเลยไปจนลูกชายแต่งงานแล้ว จึงปรารภที่จะทำพลีกรรมบวงสรวงสังเวยเทพยดาด้วยข้าวมธุปยาสเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้นางทาสีสาวใช้ไปปัดกวาดทำความสะอาดบริเวณโคนต้นไทรนั้น

ขณะนั้น พระสิทธัตถะบรมโพธิสัตว์ หลังจากเลิกการทรมานร่างกายหันมาเสวยพระกระยาหารหวังจะบำเพ็ญเพียรทางจิต ประทับนั่งพักผ่อนที่ใต้ต้นไทรนั้น ผินพระพักตร์ทอดพระเนตรไปทางทิศปราจีน (ตะวันออก) มีพระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระวรกายเป็นปริมณฑลดูงามยิ่งนัก นางทาสีสาวใช้เห็นแล้วก็ตระหนักแน่ในจิตคิดว่า คงเป็นเทพยดาเจ้า มานั่งคอยท่ารับเครื่องพลีกรรม จึงรีบกลับไปแจ้งแก่นางสุชาดา โดยด่วน

ฝ่ายนางสุชาดาจึงรีบแต่งกายด้วยเครื่องอาภรณ์อันงดงามเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ยกถาดข้าวมธุปายาสขึ้นทูลศีรษะ ออกจากบ้านพร้อมด้วยบริวารไปยังต้นไทรนั้น ครั้นได้เห็นพระโพธิสัตว์งดงามเช่นนั้น ก็เกิดโสมนัสยินดีสำคัญว่าเป็นรุกขเทวดามานั่งคอยรับเครื่องพลีกรรม จึงน้อมนำเข้าไปถวายพร้อมทั้งถาดทองคำ

เมื่อพระบรมโพธิสัตว์ทรงรับข้าวมธุปายาสแล้ว เสด็จไปประทับที่โคนต้นศรีมหาโพธิ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงบำเพ็ญเพียรทางจิตและได้ตรัสรู้เป็นพระสัพพัญญูพุทธเจ้าในวันนั้น

หลังจากนั้นพระองค์ประทับนั่งเสวยวิมุตติสุข คือสุขอันเกิดจากการตรัสรู้ บริเวณใกล้ ๆ นั้นเป็นเวลา 7 สัปดาห์ แล้วได้เสด็จไปแสดงธรรมโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี

ภายหลังต่อมา นางสุชาดา ได้ฟังธรรมจนบรรลุเป็นพระโสดาบัน เข้าถึงพระรัตนตรัย และได้ตำแหน่งเอตทัคคะเลิศกว่าพวกอุบาสิกาผู้ถึงพระรัตนตรัยก่อน (พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์)

จากจุดบ้านของนางสุชาดานี้ มองเห็นภูเขาดงคสิริ ซึ่งผู้เขียนเองก็ไม่ได้ไป แต่ก็พอรู้อยู่บ้างจากการอ่านหนังสือพุทธประวัติ ภูเขาดงคสิริ คือสถานที่พระพุทธองค์ประทับอยู่ก่อนที่จะมาต้นโพธิ์ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา (ทรมานตนอย่างอุกฤษฎ์) ใช้วิธีขบฟันด้วยฟัน อัดเพดานด้วยลิ้น จนเหงื่อไหลออกจากรักแร้ทั้งสอง และอีกวิธีหนึ่งคือกลั้นลมหายใจเข้าออก ต่อมาพระองค์อดฉันอาหารจนพระวรกายซูบผอม แต่ไม่สามารถบรรลุสัมมาสัมโพธิญาณได้ เมื่อได้ทรงสดับเสียงพิณที่เทวดาดีดบรรเลง จึงได้สติปัญญาขึ้นมาว่าสายพิณหย่อนนัก ก็ไม่ไพเราะ ตึงนัก ก็ขาด ปานกลาง จึงไพเราะ พระองค์กลับมาปฏิบัติตามหลักมัชฌิมาปฏิปทา หนทางสายกลาง เสวยอาหาร บำเพ็ญทางจิต จนตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณที่ต้นศรีมหาโพธิ์

ต่อจากนั้น คณทัวร์ไปเยี่ยมชมวัดนานาชาติ และวัดญี่ปุ่น ซึ่งมีพุทธรูปองค์ใหญ่ สร้างด้วยหินทรายแกะสลักเป็นชิ้นๆ มองดูแล้วน่าเกรงขาม ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สวยงาม โดดเด่น ซึ่งองค์นี้จำลองมาจากพระพุทธไดบุสซุในประเทศญี่ปุ่น

เมื่อคณะทัวร์ถ่ายภาพหมู่เสร็จแล้ว ก็เดินทางไปขึ้นรถที่จอดรออยู่ เมื่อรถเคลื่อนออก มัคคุเทศก์เริ่มพูดจุดหมายปลายทางที่รถจะไป พร้อมทั้งมีการสวดมนต์เช้าในรถบัส รถวิ่งไปเรื่อยๆจนได้เวลาฉันเพล หัวหน้าผู้จัดทัวร์ ก็นำอาหารที่เตรียมไว้แล้ว มาแจกคณะลูกทัวร์ซึ่งนั่งอยู่บนรถ

การฉันอาหารเพล ไม่สะดวกมากนัก เพราะฉันขณะที่รถกำลังวิ่ง ตกหลุมบ้าง กระแทกถนนที่ขรุขระบ้าง จะฉันอาหารต้องพิจารณาว่า อาหารแบบนี้ ถูกกับร่างกายเราหรือเปล่า หรือฉันอาหารแบบนี้เข้าไปแล้ว จะทำให้ท้องเสียหรือเปล่า ถ้าปวดท้องหนักขึ้นเมื่อไหร่ เราเป็นทุกข์แน่ เพราะไม่มีห้องน้ำให้เข้า บางคนต้องอดกลั้น จนท้องผูกก็มี ชีวิตแสนลำบากในการเดินทางในประเทศอินเดีย แต่ผู้คนก็ยังหลงไหล อยากจะมาสัมผัสดินแดนพุทธภูมิด้วยตนเอง

เวลาบ่ายคล้อย แดดร้อนจ้า มองดูข้างทางทั้งสอง มีแต่ทุ่งนาเต็มไปด้วยข้าวสาลีกำลังเขียวขจี รถวิ่งไปสู่เมืองพาราณสี ระยะทางจากพุทธคยาสู่เมืองพาราณสีไกลพอสมควร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 8 ชั่วโมง ร่างกายก็เริ่มอ่อนล้า แต่ต้องทำใจ

ครั้นเข้าสู่เขตเมืองพาราณสี ซึ่งแออัดไปด้วยผู้คน พร้อมทั้งวัวเดินตามท้องถนนขวักไขว่ไปมา รถก็วิ่งช้าลงเพราะเป็นเขตชุมชน พอถึงจุดหมายปลายทาง รถก็จอด คณะทัวร์พากันลงจากรถ เดินเข้าไปชมพิพิธภัณฑ์สารนาถ ครั้นแวะชมเสร็จแล้ว คณะทัวร์มุ่งไปธัมเมกขสถูป ซึ่งสถานที่แห่งนี้ดูยังมีมนต์ขลัง มีความเก่าแก่ตามกาลเวลา เป็นโบราณสถานสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ธัมเมกขสถูป

ธัมเมกขสถูป เป็นสถานที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เป็นการแสดงธรรมครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 คือพระโกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ สถานที่แห่งนี้ สร้างราว ค.ศ 500 จากหลักฐานที่ปรากฏ มีอิฐข้างในสถูปเป็นของยุคเมารยัน จึงสันนิษฐานว่า สร้างขึ้นในรัชสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช และระยะต่อมาก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

จะอย่างไรก็ตาม สถานที่แห่งนี้ เดิมชื่อว่า ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ปัจจุบันเรียกว่า สารนาถ ดินแดนศักดิ์สิทธิ์ เนื่องจากพระพุทธองค์ได้ทรงแสดงธรรมครั้งแรก ณ ที่ตรงนี้ ในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ทำให้พระโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรม เป็นพระสงฆ์รูปแรกในพระพุทธศาสนา วันนั้นจึงเป็นวันสำคัญที่มีพระรัตนตรัยครบบริบูรณ์ บังเกิดขึ้นในโลก

อ่านเพิ่มเติม: หนังสือ "บันทึกการเดินทาง ณ เเดนพุทธภูมิ"


Warning: Parameter 2 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

ป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์
ขออนุโมทนาและขอบคุณญาติโยมที่ร่วมบริจาคสร้างป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์ ขอให้ทุกท่านจงมีความสุขความเจริญตลอดไป...