Get Adobe Flash player

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Login Form


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Search


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Contact Us

Sumter Forest Temple

2275 Thomas Sumter Hwy.

Sumter, SC 29153

Tel. 803-469-2494

E-mail: sumterforesttempe@hotmail.com


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Banners


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Visitors Counter

1159222
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
102
222
2078
448206
6168
7971
1159222

Your IP: 18.227.0.255
2024-11-21 04:24

ประวัติหมู่บ้านหนองข่า ถิ่นภูไท (ฉบับสมบูรณ์)

ประวัติโดยสังเขป บ้านหนองข่า-ป่าหวาย ถิ่นภูไท (ฉบับสมบูรณ์)

บ้านหนองข่า-ป่าหวาย ตำบลหนองข่า อำเภอปทุมราชวงศา จังหวัดอำนาจเจริญ เดิมเรียกว่า "บ้านป่งนกเป้า" แต่คนชอบเรียกสั้นๆว่า "บ้านป่ง" ห่างจากตัวเมืองอำนาจเจริญ ประมาณ 30 กิโลเมตร ก่อตั้งมาประมาณ 120 - 140 ปี เป็นหมู่บ้านใหญ่ แบ่งการปกครองเป็น 2 หมู่บ้าน คือ หมู่ 1 กับหมู่ 4 มี 1 วัด คือ วัดสำราญนิวาส ซึ่งเป็นวัดราษฎร์สังกัดมหานิกาย เริ่มสร้างวัด  ปี พ.ศ.2467 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วันที่ 12 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2540  และยังมีที่พักสงฆ์  1 แห่ง คือ ที่พักสงฆ์ป่าชุมชนเจริญจิต (ดอนปู่ตา) พื้นที่ 327 ไร่ เริ่มสร้างเป็นที่พักสงฆ์ เมื่อวันที่ 5 เดือน มกราคม พ.ศ. 2555 โรงเรียน มี 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านหนองข่า-ป่าหวาย สร้างขึ้นราวปี 2508 โดยมีครูเฮาและครูอาน ทองรัง   มี 1 สถานีอนามัย

 

ประชากรมีเชื้อสายภูไท ดั้งเดิมคนภูไทรากฐานวัฒนธรรมอยู่บนภูมิประเทศที่สูง ตามภูเขา ใกล้ชิดธรรมชาติ มีการนับถือผี  วิถีชีวิตจึงผูกพันธ์กับธรรมชาติและป่าเขา โดยอยู่ร่วมกันแบบเรียบง่าย อาชีพหลักทำนา ทำไร่ ทำสวน อาชีพเสริมเลี้ยงสัตว์ ชาวภูไทเป็นคนซื่อสัตย์ รักความสงบ ชอบความสนุกสนาน ซึ่งมีวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษเป็นเวลาช้านาน งานหัตถกรรมที่โดดเด่นคือจักสานและทอผ้า ด้วยความที่เผ่าภูไทมีหลายกลุ่ม แต่ละกลุ่มก็มีความโดดเด่น แตกต่างกันออกไป

ภูไทมีถิ่นฐานเดิมที่สิบสองจุไท และสิบสองปันนา (ทางตอนเหนือของลาวและเวียดนาม และติดกับทางตอนใต้ของประเทศจีน) กลุ่มชนภูไทที่เคลื่อนย้ายลงมาจากสิบสองจุไท ซึ่งปัจจุบันคือชายแดนติดต่อระหว่างแขวงหัวพันของประเทศลาว และเมืองเดียนเบียนฟู (อดีตคือเมืองแถง หรือ แถน แคว้นสิบสองจุไท) ของประเทศเวียดนาม สาเหตุการย้ายถิ่นฐาน น่าจะเกิดสงคราม การต่อสู้ ตามหัวเมืองต่างๆ ชนกลุ่มภูไทนี้ จึงย้ายถอยร่นลงมาเรื่อยๆ

การย้ายถิ่นฐานดั้งเดิมของกลุ่มภูไทจากเหนือลงมาสู่กลางและใต้ของลาว โดยมาพึ่งอาศัยเจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์เวียงจันทน์ (ตรงกับช่วงรัชกาลที่ 2 และรัชกาลที่ 3) ต่อจากนั้น เจ้าอนุวงศ์ จึงให้หัวหน้าเผ่าภูไทพาลูกน้องบริวาร ไปสร้างบ้านเมือง ที่"เมืองวัง" จึงเป็นถิ่นฐานของชาวภูไทที่มีเขตวัฒนธรรม–ชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ มาตั้งแต่ยุคของ "เจ้าอนุวงศ์" หรือเจ้า "อนุรุธราช" แห่งราชอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

ต่อมา ชาวภูไท จากเมืองวังและเมืองตะโปน (ปัจจุบันคือเซโปน) ได้แยกย้ายออกไปตั้งเป็นเมืองต่างๆ ขึ้นอีก คือ เมืองพิน, เมืองนอง, เมืองพ้อง, เมืองพลาน, เมืองเชียงฮ่ม, เมืองผาบัง, เมืองคำอ้อคำเขียว เป็นต้น (เรียบเรียงจากบทพระนิพนธ์ของ พระบรมวงษ์เธอ พระองค์เจ้าประดิษฐาสารีในหนังสือชื่อ พระราชธรรมเนียมลาว พิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2479)

เมืองวัง, เมืองเซโปน เป็นถิ่นกำเนิดของชาวภูไทในฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง (ดินแดนลาว) ก่อนที่จะอพยพเข้ามาอยู่ในภาคอีสานปัจจุบัน ในสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อตอนที่เจ้าอนุวงษ์ แห่งกรุงเวียงจันทน์เป็นกบฎต่อกรุงเทพฯ ใน พ.ศ. 2369 ต่อมาเมื่อกองทัพไทยยกข้ามแม่น้ำโขงไปปราบปรามจนสงบราบคาบแล้ว ทางกรุงเทพฯ มีนโยบายจะอพยพชาวภูไท จากเมืองวัง, เมืองเซโปน จากชายแดนปลายพระราชอาณาเขต ซึ่งใกล้ชิดติดกับแดนญวน ให้ข้ามโขงมาตั้งถิ่นฐานทางฝั่งขวาแม่น้ำโขง (ภาคอีสาน) ให้มากที่สุดเพื่อความปลอดภัย มิให้เป็นกำลังแก่นครเวียงจันทน์และฝ่ายญวนอีกต่อไป จึงไปกวาดต้อนผู้คนซึ่งเป็นชาวภูไท จากเมืองวัง, เมืองเซโปน,เมืองพิน, เมืองนอง, เมืองคำอ้อคำเขียว ซึ่งอยู่ในแขวงสะหวันนะเขต ของลาวปัจจุบัน ซึ่งยังเป็นอาณาเขตของพระราชอาณาจักรไทยอยู่ในขณะนั้นให้ข้ามโขง มาตั้งบ้านตั้งเมือง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงในเขต เมืองกาฬสินธุ์, สกลนคร, นครพนม มุกดาหาร ยโสธร และอำนาจเจริญในปัจจุบัน

จากการสอบถามจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน ท่านเล่าให้ฟังว่า ภูไทบ้านหนองข่า-ป่าหวาย ย้ายมาจากเมืองพิน เมืองนอง (ปัจจุบันอยู่แขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว) ก่อนจะย้ายข้ามฝั่งโขงมาสู่บริเวณพื้นที่ห้วยทรายใกล้ภูเปาะ จึงได้สร้างเป็นหมู่บ้าน เรียกว่า “บ้านหัวภู” ภายหลังเมื่อย้ายจากที่นี่แล้ว จึงเรียกว่า “บ้านเก่าหัวภู” หลังจากนั้น ก็อพยพย้ายกันไปตามที่ต่างๆบางกลุ่มย้ายไปอยู่บริเวณนาฟ้าผ่า ครั้นเมื่อเกิดโรคระบาด คนและสัตว์เลี้ยงตายเป็นจำนวนมาก จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “โคกตายดับ” บางกลุ่ม ย้ายไปสร้างบ้านเรือนที่บ้านหนองหิน  กลุ่มคนที่โคกตายดับ ได้ย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนอีก ขยับลงมาใกล้ห้วยทราย ตามลำห้วยมีต้นข่า บริเวณหนองน้ำก็มีต้นข่าขึ้นจำนวนมากเช่นเดียวกัน จึงเรียกว่า  “หนองข่า” คงจะอยู่ที่นี่หลายปี ต่อมาน้ำจากห้วยทราย เข้าท่วมบ้านเรือน จึงเรียกว่า "บ้านเก่าน้ำท่วม" หลังจากนั้น จึงย้ายบ้านเรือนสู่พื้นที่ราบสูง ซึ่งไม่ไกลจากห้วยทรายมากนัก เหมาะสำหรับการทำนา ทำไร่ และบริเวณป่าแห่งนี้ เหมาะที่จะสร้างบ้านเรือนขึ้น จึงพากันย้ายมาสร้างบ้านเรือนที่บ้านป่ง ครั้งแรก มีไม่กี่คน ย้ายมาปลูกเรือนก่อน โดยมาแผ้วถางป่าทำข้าวไฮ่ (ข้าวไร่) ต่อจากนั้น จำนวนคนก็ย้ายมาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีผู้ใหญ่เสือ เป็นหัวหน้าเป็นผู้นำ

เมื่อปี 2560 ทีมงานได้ไปสำรวจหาหลักฐานที่บ้านเก่าน้ำท่วม จากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน จึงได้พบหลักฐานหลายอย่าง เช่น เงินสมัยรัชกาลที่ 5 หนึ่งเหรียญ แหวนเก่า 1 วง และเครื่องปั้นดินเผาเก่าๆ จำนวนมาก แตกกระจัดกระจายบริเวณพื้นที่นั้น จึงเชื่อได้ว่าเป็นบ้านเก่าน้ำท่วม มีอยู่จริง ตามหลักฐานโบราณวัตถุที่หาเจอ

เดิมที คนทั่วไปชอบเรียกหมู่บ้านหนองข่าแห่งนี้ว่า "บ้านป่งนกเป้า" สาเหตุที่คนรุ่นก่อนเรียกว่า "บ้านป่ง" เพราะบริเวณแถบนี้มีดินป่ง (ดินโป่ง) และมีนกเป้าจำนวนมาก ลงมากินดินป่ง บริเวณดินป่งอยู่คุ้มบ้านใต้ และบางคนที่อยู่คุ้มใต้ ก็ได้ย้ายไปสร้างบ้านเรือนที่คุ้มบ้านเทิง  แต่หมู่บ้านแห่งนี้ ทางราชการตั้งชื่อว่า "บ้านหนองข่า" เพราะเอาตามชื่อเดิมของหนองข่าที่ห้วยทรายใกล้บ้านเก่าน้ำท่วม เมื่อประชากรเพิ่มมากขึ้น ทางราชการก็แยกออกเป็น "บ้านป่าหวาย" ตรงนี้เดิมทีเรียกว่า “บ้านน้อย” บริเวณนี้มีต้นหวายเป็นจำนวนมาก ฉะนั้น จึงเรียกรวมกันว่า "บ้านหนองข่า-ป่าหวาย" ตราบเท่าทุกวันนี้

หลักบ้านหนองข่า-ป่าหวาย คือ ดอนจ้ำปู่ (ดอนปู่ตา) เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้านหนองข่า-ป่าหวาย จะมีตูบ (ศาล) ปลูกไว้ให้ปู่ตาอาศัยอยู่ และเป็นที่ชาวบ้านเคารพนับถือ มีการทำบุญหลักบ้านเพื่อความเป็นศิริมงคล เป็นประเพณีของชาวบ้านหนองข่า-ป่าหวายที่ทำเป็นประจำทุกปี เพื่อให้หลักบ้านปกป้องคุ้มครองชาวบ้านให้อยู่เย็นเป็นสุข ชาวบ้าน มีความเชื่อว่า ดอนปู่ตาเป็นป่าศักดิ์สิทธิ์ที่ผีปู่ตาซึ่งเป็น ผีบรรพบุรุษหรือผีเจ้าที่ ที่คอยดูแลป่าประจำหมู่บ้าน โดยปกติดอนปู่ตาจะเป็นป่ารกครึ้ม มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ เนื่องจากไม่มีใครกล้าเข้าไปตัดไม้หรือจับสัตว์ในป่าดอนปู่ตา เพราะเกรงกลัวปู่ตาจะทำให้มีอันเป็นไป

พิธีกรรมเลี้ยงผีปู่ตานั้น จะมีจ้ำประจำหมู่บ้านคอยทำพิธี ซึ่งพิธีเลี้ยงผีปู่ตานี้จะจัดขึ้นในช่วงเดือน 3 และเดือน 6 ของทุกปี ก่อนที่จะมีพิธีกรรมทำบุญเลี้ยงบ้าน จ้ำ (ผู้ประกอบพิธีกรรม) ประจำหมู่บ้าน จะเป็นคนบอกกล่าวชาวบ้านก่อนประมาณ 3-4 วัน เพื่อให้ชาวบ้านเตรียม เหล้า   และไก่ เพื่อใช้เป็นเครื่องเซ่นไหว้

ดอนจ้ำปู่ (ดอนปู่ตา) ในหมู่บ้าน มี 2 แห่ง คือ ดอนปู่ตาบ้านเทิง (เหนือ) จ้ำปู่ชอบกวางและควาย ส่วนดอนปู่ตาคุ้มบ้านใต้ จ้ำปู่ (ปู่ตา) บ้านใต้ชอบเต่า เชื่อกันว่าเป็นสัตว์เลี้ยงของปู่ตา  ปู่ตาคุ้มบ้านใต้เป็นแค่เป็นบริวารของปู่ตาบ้านเทิง(หนือ)  แต่อีกความเชื่อหนึ่งที่เล่ากันมาว่ามีคนชื่อลีจากบ้านหนองมะเสี่ยง ยกทัพมาที่นี่ บังเอิญฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ต้นไม้โค่นหักทับนายลีตายที่หนองทัพวัวบริเวณดอนปู่ตาทางทิศตะวันออก จึงเชิญวิญญาณผีตายโหงมาเป็นปู่ตาคงจะเข็ดหรือเฮี้ยนนักแล

อันที่จริง แม้ชาวบ้านจะหันมานับถือพระพุทธศาสนาแล้วก็ตาม แต่ความเชื่อเรื่องผี นับถือผีก็ยังมีอยู่ เช่น ผีปู่ตา ผีบรรพบุรุษ ผีไร่ผีนา ผีบ้านผีเรือน เป็นต้น ก่อนจะจบขอฝากบทผญาไว้เตือนใจพี่น้องชาวภูไท ว่า "อย่าสุไลเสียถิ่ม พงษ์พันธุ์พี่น้องเก่า อย่าสุละเผ่าเชื้อ ไปย่องผู้อื่นดี"

รายชื่อผู้ใหญ่บ้านหนองข่า-ป่าหวาย

นายเสือ พรมเสน  นายพูล พรมแสน  นายลับ จรูญภาค(กำนัน) นายพรม ทาทอง  นายทอน คนคง  นายขาล พิมเสน  นายขุน  แต้มทา  นายไพศาล ทองรัง นายเวียง ปาณะสี  นางอุไร จันทา นายสำราญ ธุระวร, นายเก่ง พรมเสน  นายมณฑา มุทาพร นายสำราญ พรหมสีโคตร

หวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่เขียนมาจะทำให้ทุกท่านได้รู้จักวิถีชีวิตคนภูไทบ้านหนองข่า-ป่าหวายมากยิ่งขึ้น และได้รู้จักประวัติความเป็นมาของชนเผ่าภูไทโดยชาติพันธุ์ หากมีข้อบกพร่องผิดพลาดประการใด ขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้

ข้อมูลจาก..แม่ใหญ่ก้ง คำอ่อน   แม่ใหญ่จอม จันทา  แม่ใหญ่บัวทอง  แต้มทา

พ่อใหญ่ไล บ้านหนองหิน  พ่อใหญ่จ่อย คนคง  พ่อใหญ่เลี่ยม อ่อนตา

ครูอาน ทองรัง  ครูวิรัตน์ ทองรัง

 

เขียน/เรียบเรียง...โดย...พระมหาภูริภัทร์ อคฺคธมฺโม (สุทาศิริ)


Warning: Parameter 2 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

ป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์
ขออนุโมทนาและขอบคุณญาติโยมที่ร่วมบริจาคสร้างป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์ ขอให้ทุกท่านจงมีความสุขความเจริญตลอดไป...