Get Adobe Flash player

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Login Form


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Search


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Contact Us

Sumter Forest Temple

2275 Thomas Sumter Hwy.

Sumter, SC 29153

Tel. 803-469-2494

E-mail: sumterforesttempe@hotmail.com


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Banners


Warning: Parameter 2 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artblock() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Visitors Counter

1170648
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
475
80
3882
454966
9799
7795
1170648

Your IP: 3.145.72.55
2024-12-22 08:45

Warning: "continue" targeting switch is equivalent to "break". Did you mean to use "continue 2"? in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/functions.php on line 185

หนังสือ "ใต้ร่มธรรมนิรันดร"

นิยายอิงธรรมะ ตามสไตล์ ภูริภัทร์

บทที่ 1 เลขเด็ด แก้จน

ในค่ำคืนที่เงียบสงัด แสงจันทร์สาดแสงส่องมาจากทิศบูรพา ดวงดาวสุกสกาวบนฟากฟ้า มีครอบครัวหนึ่งซึ่งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ แวดล้อมไปด้วยขุนเขา ลำธาร ใช้ชีวิตสันโดษ พอเพียง ตามวิถีคนชนบท ครอบครัวนี้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตากัน นายโชติ เป็นผู้ใหญ่บ้าน ณ บ้านหินงาม มีภรรยาชื่อ ธัมมิกา มีบุตรด้วยกัน 2 คน ลูกชายชื่อภัทรภัทร์ ลูกสาว มีนามว่า พิมพ์ปภัทร์ ซึ่งกำลังนั่งคุยเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมือง ซึ่งกำลังวุ่นวาย ระส่ำระสาย บังเอิญมองไปเห็นเงาตะคุ่มๆเดินมา คิดว่า "ใครหนอ มาหายามค่ำคืนแบบนี้" พอดีสักพัก เงาตะคุ่มๆก็ตะโกนเรียกว่า "ลุงผู้ใหญ่ อยู่หรือเปล่า"

"อยู่ "ผู้ใหญ่ขานรับ

"มีธุระอะไรหรือ"ลุงผู้ใหญ่ เอ่ยถาม

"มีคนตายในหมู่บ้านอีกแล้ว" ลุงสวน ผู้เป็นมัคคทายกวัด พูดขึ้น

"ใครตายล่ะ" ลุงผู้ใหญ่ ถาม

"มิใช่ใครที่ไหนหรอก ลุงควร เป็นมะเร็ง ตายแล้ว" ลุงสวน พูดเบาๆด้วยสีหน้าเศร้า

"ธรรมดา ชีวิต สังขาร เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนี้พ้น" ผู้ใหญ่ พูดแบบปลงๆ

ภรรยาและลูกๆที่นั่งฟังอยู่ สีหน้าซีด เศร้าใจ ไม่พูดอะไรเลย ใจเริ่มกลัวขึ้นมาทันที

"แล้วพวกเรา จะทำอย่างไรต่อล่ะ" ผู้ใหญ่ พูด

"ต้องไปหานิมนต์พระมาสวดศพ ยิ่งบ้านเรา วัดก็ร้าง ไม่มีพระอยู่" ลุงสวน พูด

"นี่ ก็ดึกแล้ว คงต้องรอพรุ่งนี้ ตอนเช้าจะได้ประกาศหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ให้ชาวบ้านมาช่วยกัน" ผู้ใหญ่ พูด

"เออ.. อย่างนั้น ก็ขอลากลับก่อน ค่อยเจอกันพรุ่งนี้" ลุงสวน พูด แล้วเดินลงจากบ้าน จากไป...

ลูกชาย จึงถามพ่อว่า "จะนิมนต์พระที่ไหน เมื่อวัดไม่มีพระอยู่"

พ่อ พูดเบาๆว่า "คงนิมนต์พระวัดที่อยู่หมู่บ้านอื่น แต่ก็ไกลพอสมควร"

ลูกชาย ถามว่า "ทำไม หาพระอย่างเหลือเกิน หรือคนไม่นิยมบวชกันแล้ว"

พ่อ พูดว่า "หมู่บ้านเรา อยู่ห่างไกลความเจริญ หาพระมาอยู่ก็ยาก เพราะพระจะอยู่ที่เมืองใหญ่ๆกัน ซึ่งสะดวกต่อการศึกษาเล่าเรียน พระส่วนน้อยที่จะสละตนเองออกมาอยู่ตามป่าเขา ไม่เหมือนแต่ก่อน"

"อืม..หาพระดีๆมีความรู้ความสามารถในเทศน์สอนคนให้เข้าใจในหลักธรรม แล้วนำธรรมะมาใช้ในการดำเนินชีวิต นับวันหายากแสนยาก เพราะสังคมปัจจุบันเปลี่ยนไปเยอะ ยิ่งยุคนี้สังคมทันสมัยในด้านเทคโนโลยี แต่เทคโนโลยียิ่งล้ำหน้าไปไกล ศีลธรรมก็จะกลับถอยหลัง" ลูกชาย พูดพึมพำ

พิมพ์ปภัทร์ พูดแทรกว่า "สงสัย ต้องให้พี่บวชแล้วมั้ง ศาสนาจึงจะเจริญ"

ภัทรภัทร์ พี่ชาย จึงพูดว่า "พี่ยังเรียนมหาวิทยาลัยอยู่ ถ้าเรียนจบเมื่อไหร่ ไม่แน่อาจจะบวชก็ได้"

"อนุโมทนา..สาธุ! ไว้ล่วงหน้า" พิมพ์ปภัทร์ พูดทันทีด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

ภัทรภัทร์ พูดว่า "แหม..ยังไม่แน่นอนหรอก"

แม่ พูดขึ้นว่า "นอนเถอะลูก! ดึกมากแล้ว" ทุกคนจึงพากันแยกย้ายกันไปนอน

รุ่งอรุณยามเช้าวันใหม่ ดวงอาทิตย์ สาดส่องมาทางทิศบูรพา ทองฟ้าแจ่มใส ผู้ใหญ่บ้าน จึงได้ประกาศหอกระจายข่าวเรื่องการตายของลุงควรให้ชาวบ้านได้รับทราบ และให้มาร่วมด้วยช่วยกันในการจัดงานศพ ซึ่งคนในหมู่บ้านก็ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี เหมือนอย่างที่เคยปฏิบัติสืบๆกันมา ครอบครัวลุงควรต้องตระเตรียมหาข้าวปลาอาหารมาเลี้ยงแขก และที่ขาดไม่ได้คือต้องมีเหล้าเบียร์ด้วย ในสังคมชนบทจะเป็นแบบนี้เสมอมา

ในวันนี้เอง บังเอิญมีพระธุดงค์รูปหนึ่ง เดินทางมาถึงหมู่บ้าน ได้ปัดกลดที่ป่าช้าท้ายหมู่บ้าน เหมือนรู้เหตุการณ์ล่วงหน้า ตอนเช้าได้ออกบิณฑบาตในหมู่บ้าน ได้อาหารเพียงพอยังชีพ ก็เดินกลับไปที่ปัดกลด วางบาตรลงแล้ว พิจารณาอาหารบิณฑบาตที่ได้มาโดยลำแข้งว่า "เราจะไม่ฉันอาหารเพื่อให้เกิดความมัวเมา ไม่ได้ฉันเพื่อให้เกิดกำลังพลังทางกาย ไม่ได้ฉันเพื่อประดับตกแต่ง แต่ฉันเพื่อการตั้งอยู่ได้แห่งกายนี้.." ท่านพิจารณาฉัน(บริโภค)อาหารที่ละคำอย่างละเอียด เพราะกำหนดบทกรรมฐานไปด้วย ปฏิปทาน่าเลื่อมใส เคร่งครัดในวินัย ทรงศีล มีอาการสำรวมเป็นที่น่าเคารพอย่างยิ่ง

ทันใดที่ได้ยินข่าวว่ามีพระธุดงค์ผ่านมาหมู่บ้าน อุบาสกสองคน คือผู้ใหญ่บ้านกับลุงสวน รีบเดินทางตามพระธุดงค์เพื่อจะนิมนต์ท่านมาสวดงานศพ พอดีที่พระธุดงค์ฉันอาหารเสร็จ สองคนนี้ ก็เดินเข้าไปใกล้ๆแล้วกราบลงสามครั้ง

"โยมมีธุระอะไรหรือ" พระธุดงค์ ถาม

"เออ..จะนิมนต์พระคุณเจ้าไปสวดศพลุงควรที่หมู่บ้าน" ลุงสวน ตอบ

"ชีวิตคนเรา ก็เท่านี้แหละ ตั้งอยู่ในกฎไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา " พระธุดงค์ พูดด้วยน้ำเสียงชัดเจน แจ่มแจ้ง

ฝ่ายโยมพูดขึ้นว่า "นิมนต์พระคุณเจ้า อนุเคราะห์ญาติโยม ด้วยเถิด"

พระธุดงค์ พูดตอบว่า "ก็เป็นหน้าที่ของพระที่จะต้องอนุเคราะห์ญาติโยมอยู่แล้ว"

เมื่อพระธุดงค์รับคำอาราธนานิมนต์แล้ว โยมทั้งสองก็กราบลา กลับไปสู่หมู่บ้าน พอได้เวลาสมควร พระธุดงค์ ก็สัญจรเข้าไปสู่หมู่บ้าน ได้ยินเสียงดังของผู้คนถึงท้ายหมู่บ้าน นึกว่าทำอะไรกัน เมื่อเดินเข้าไปใกล้บ้านที่จัดงานศพ ก็เห็นคนกำลังกินเหล้าเมายา เล่นไพ่ ไฮโล อย่างเพลิดเพลินสนุกสนาน ได้แต่หดหู่ใจ ครุ่นคิดว่า "นี่หรือชาวพุทธ" ท่านก็เดินขึ้นไปบนบ้าน นั่งบนอาสนะที่เขาจัดเตรียมไว้ ต่อมาญาติโยมก็พากันไหว้พระ อาราธนาศีลห้า พระก็ให้ศีลและสวดบทมาติกา บทบังสุกุลตาย พิจารณาสังขารว่า "สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป การเข้าไปดับสังขารทั้งหลายเหล่านั้น เป็นสุข"

และพระธุดงค์ท่านก็เทศน์สอนญาติโยมทั้งหลายที่มาร่วมงานศพว่า "อย่าใช้ชีวิตประมาท เพราะชีวิตไม่แน่นอน ความตายแน่นอนที่สุด"

โยมผู้ชายคนหนึ่ง เอ่ยปากขอเลขว่า " ท่าน มีเลขท้ายเด็ด แม่นๆ สองตัว สามตัว หรือเปล่า ใกล้หวยจะออกแล้ว"

"โยมเคยซื้อบ้างหรือเปล่า"

"เคยซื้อมาหลายปีแล้ว แต่ไม่เคยถูกสักที"

พระธุดงค์ พูดว่า " อาตมา ไม่มีเลขสองตัว สามตัว แต่มีสี่ตัว จะเอาหรือเปล่า"

"เอาๆ มีตัวไหนบ้างครับ"

"เตรียมจำไว้ให้ดีนะ"

โยมทุกคนที่มาร่วมงาน นั่งเงียบ ตั้งอกตั้งใจฟัง คิดในใจว่า "วันนี้ พระมาโปรดแล้ว งวดนี้ รวยแน่ๆ"

ตัวที่หนึ่ง อุฏฐานสัมปัทา ถึงพร้อมด้วยความขยัน หมั่นเพียรในการทำหน้าที่การงาน พูดง่ายๆ คือขยันหาทรัพย์

ตัวที่สอง อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา คือรู้จักเก็บทรัพย์ที่หามาได้ มิให้เสื่อมเสีย

ตัวที่สาม กัลยาณมิตตตา คบคนดีเป็นมิตร คือรู้จักรเลือกคบคนที่มีศีลธรม

ตัวที่สี่ สมชีวิตา มีความเหมาะสม พอเพียง คือรู้จักกำหนดรายได้รายจ่ายพอดีกับชีวิต ไม่ฝือเคืองจนเกินไป และไม่ฟูมฟายจนเกินเหตุ

ขอญาติโยมจงจำไว้ให้ดี สี่ตัวนี้พารวยได้จริง ถ้าทำตามหลักของพุทธเจ้าที่ว่ามานี้ พึ่งพาตนเอง ขยันหา รักษาไว้ คบเพื่อนดี ดำเนินชีวิตพอเหมาะ ก็จะรวย ไม่ต้องไปหวังลมๆแล้งๆกับเลขสองตัว สามตัว หรอก

ญาติโยม ก็พูดเบาๆพร้อมกันว่า "ใช่"

ต่อจากนั้น พระก็ให้พร แล้วลงจากบ้านเข้าไปสู่ชายป่าช้าเหมือนเดิม

เวลาบ่ายคล้อย สักสามโมงเย็น ชาวบ้านก็หามศพไปเผาที่ป่าช้าท้ายหมู่บ้าน พระอาทิตย์ลับขอบฟ้า ชาวบ้านก็พากันไปหมด เหลือแต่พระรูปเดียวที่ป่าช้า ซึ้งกำลังย้ายที่ปักกลดใหม่ เข้าใกล้ที่เผาศพ เพื่อจะพิจารณาซากศพที่ถูกไฟไหม้เกรียม ท่ามกลางป่าช้ามีแต่ความวังเวง เงียบสงัด พวกสัตว์ที่ออกหากินยามค่ำคืน ก็ส่งเสียงร้องต่างๆนานา เหมาะอย่างยิ่งในเจริญกรรมฐาน สถานที่อย่างนี้ พระธุดงค์ท่านนี้ หาสะดุ้งกลัวไม่

รุ่งอรุณวันใหม่ พระธุดงค์ท่านก็ออกบิณฑบาต และบอกลาญาติโยมทั้งหลายว่าจะออกเดินธุดงค์ต่อไป ถึงแม้จะมีญาติโยมนิมนต์ท่านให้อยู่วัดที่ติดกับป่าช้า เพื่อโปรดญาติโยม ท่านก็ปฏิเสธ เพราะได้อธิษฐานจิตไว้แล้ว จะต้องเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ตามที่กำหนดไว้

และหมู่บ้านนี้ ก็ไม่มีพระอีกเหมือนเดิม เมื่อพระธุดงค์จากไป...

บทที่ 2 จิตตานุภาพ

ฤดูหนาวปีนี้ หนาวเหน็บกว่าทุกปีที่ผ่านมา บรรยากาศปกคลุมไปด้วยเมฆหมอกสีขาว งดงามตระการตาทั่วขุนเขา ชาวบ้านต่างก็หาฟืนจุดไฟผิง คลายความหนาว พระธุดงค์รูปนี้เดินมุ่งหน้าสู่ตอนเหนือ ลัดเลาะไปตามขุนเขา ต้องอดทนต่อความหนาวเหน็บ อดทนต่อความลำบาก อย่างไม่ท้อถอย ด้วยความมุ่งมั่นตรงต่อมรรค ผล นิพพาน ใกล้เวลาเย็น ท่านก็เดินหาสถานที่เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียรภาวนา เนื่องจากเหน็ดเหนื่อยในการเดินทาง และไม่เหมาะในการเดินทางตอนกลางคืน จึงมองซ้ายแลขวา บังเอิญมองไปเจอถ้ำแห่งหนึ่ง เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร จึงได้ตัดสินใจปักกลดในถ้ำแห่งนี้ ตกดึกมา เมื่อท่านกำลังนั่งสมาธิอยู่จนได้ฌาน มีวิญญาณผีตนหนึ่ง ซึ่งเฝ้าถ้ำมานานแสนนาน ปรากฎตัวร่างใหญ่ ซูบผอม เดินเสียงดังเข้ามาใกล้ๆ แต่ท่านหากลัวไม่ ด้วยศรัทธาตั้งมั่นในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และตนเองก็มีศีลบริสุทธิ์ จึงเชื่อมั่นในศีลของตน ศีลเป็นเกราะกำบังป้องกันอันตรายได้ ด้วยพลังแห่งสมาธิ ก็รู้ว่าเป็นผีเปรตที่เดินเข้าหาตน

ขณะนั้น พระธุดงค์ จึงรวมพลังจิต ถามว่า "เจ้าเป็นใคร มาจากไหน?"

ผีตนนี้ ตอบว่า "เป็นคนในหมู่บ้านที่ไม่ไกลจากถ้ำนี้"

"ทำกรรมอะไร จึงมาเกิดที่นี้"

"แต่ก่อนเคยปล้นจี้ ลักขโมยวัวควายของชาวบ้าน หนีมาหลบที่นี้เป็นประจำ ในถ้ำนี้มีพระพุทธรูปองค์หนึ่ง ก่อนจะออกปล้นแต่ละครั้ง ก็มาสักการะพระพุทธรูป และอธิษฐานจิตว่า "ขอพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ จงคุ้มครองข้าพเจ้าให้ปลอดภัยด้วยเถิด" ในคืนนั้น ก็เข้าไปขโมยวัวในหมู่บ้าน บังเอิญเจ้าของวัว ตื่นมาเห็น ก็มีการยิงต่อสู้กันขึ้น หลังจากรู้ว่าตัวเองถูกยิงที่ท้อง ได้รับบาดเจ็บ ก็หลบหนีเข้ามาในถ้ำ คิดในใจว่า ทำไม พระพุทธรูปองค์นี้ไม่ช่วยปกป้องเรา เลยเกิดโมโห โทสะ จึงเอาค้อนทุบพุทธรูปองค์นี้ ต่อมาทนบาดแผลไม่ไหว ก็ตาย จึงเกิดเป็นเปรตเฝ้าถ้ำแห่งนี้"

"เจ้าต้องการอะไร จึงมาปรากฏร่างให้เห็นล่ะ"

"ต้องการให้พระคุณเจ้าไปบอกญาติพี่น้องที่อยู่หมู่บ้านใกล้ๆนี้ และช่วยแนะนำญาติพี่น้องทำบุญอุทิศมาให้ด้วย เพราะรอส่วนบุญมานานแล้ว"

"ญาติชื่อะไร?"

"ชื่อบุญมี"

"เออ..เดี๋ยวจะบอกให้" พระธุดงค์พูดเบาๆในใจ

ทันทีนั้น ร่างผีก็หายแว็บไป..

ต่อจากนั้น พระธุดงค์ ก็คลายสมาธิ แผ่เมตตาให้แก่สรรพสัตว์ทั้งหลาย และวิญญาณภูตผีปิศาจ เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย พอแผ่เมตตาเสร็จแล้ว ก็นอนอย่างมีสติ กำหนดลมหายใจเข้าออก ตามที่อาจารย์เคยพร่ำสอนไว้

พอรุ่งเช้า ได้เวลาจาริกหาอาหาร เที่ยวบิณฑบาต ก็นุ่งสบงห่มจีวรเรียบร้อย มุ่งหน้าสู่บ้านเล็กๆ กลางหุบเขา เดินด้วยอาการสำรวม ทอดสายตาลงต่ำประมาณสักสี่ศอก พอถึงหมู่บ้าน มีชาวบ้านเดินสวนทางมา

พระธุดงค์ ถามชาวบ้าน ว่า "บ้านของโยมบุญมีอยู่ตรงไหน"

ชาวบ้าน ก็ชี้มือไปและพูดว่า "พระคุณเจ้า..หลังโน้น"

ท่านก็เดินไปที่บ้านหลังนั้นทันที และหยุดตรงที่หน้าบ้าน พอดีนางบุญมีที่ยืนอยู่บนบ้านชำเหลืองมองเห็นพระที่หน้าบ้าน จึงลงบันได แล้วเดินไปถามว่า "พระคุณเจ้า มีธุระอะไรหรือ?"

ทันทีนั้น พระธุดงค์ก็บอกความประสงค์ที่ตนมาที่นี้ ว่า "เมื่อคืนที่ผ่านมา มีผีตนหนึ่ง ต้องการส่วนบุญจากโยม จึงมาปรากฏร่างให้อาตมาเห็น บอกว่า รอส่วนบุญมานานแล้ว แต่ไม่มีญาติอุทิศไปให้"

นาง แม้จะมีอายุกลางคนแล้ว แต่ไม่เคยเข้าวัด และไม่รู้ว่าจะทำบุญแบบไหน ทั้งไม่รู้ว่าเป็นญาติคนไหนบ้าง เพราะหลายชั่วคนมาแล้ว จึงถามพระว่า "แล้วจะทำอย่างไรล่ะ เจ้าค่ะ"

"ก็ทำบุญ อุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว"

"ดิฉัน ก็ยากจน ไม่รู้จะซื้ออะไรมาทำบุญ"

"โยมมีสิ่งของอะไร ก็ถวายตามที่ตนจะหาได้"

"ดิฉัน ก็มีแต่ข้าวและกับเท่านั้น พอได้ประทังชีวิตไปวันๆ"

พระธุดงค์ท่านนิ่ง นางก็นิมนต์ท่านขึ้นไปบนบ้าน จัดเตรียมอาหารผลไม้มาถวาย เมื่อถวายอาหารเสร็จ พระท่านก็แนะนำให้นางกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติที่ตายไป

นาง พูดขึ้นว่า " เวลากรวดน้ำ จะต้องทำอย่างไร พูดอะไรบ้าง"

"จะพูดออกเสียงเบาๆ ก็ได้ หรือจะพูดในใจก็ได้ คำอุทิศว่า ขอส่วนบุญนี้ จงมีแก่ญาติทั้งหลายของเรา ขอญาติทั้งหลายของเราจงมีความสุข" พระธุดงค์อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ

เมื่อนางเข้าใจ ก็ตั้งจิตอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติที่ล่วงลับไป เมื่อพระธุดงค์รับอาหารบิณฑบาตเสร็จแล้ว ก็ให้พร หลังจากนั้น ลงจากบ้านเดินด้วยอาการสำรวมกลับถ้ำที่พัก พิจารณาฉันอาหารพอยังอัตภาพให้เป็นไป

ครั้นทำภัตกิจเสร็จ ท่านก็ทำความเพียร เดินจงกรม นั่งสมาธิ จนถึงเวลาใกล้เย็น จึงหยุดพักเพื่ออาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาด เมื่อตะวันลับเหลี่ยมเขา ความมืดย่างเข้ามาแทนที่ ท่านนั่งสมาธิจนจิตนิ่งสงบ ทันใดนั่นเอง มีเสียงลมผัดเข้ามาในถ้ำอย่างรุนแรง ต้นไม้รอบถ้ำเอนไหวเสียงดังโครม เหมือนพายุจะพัดกระหน่ำอย่างหนัก

สักครู่ ก็มีร่างหนึ่งปรากฏขึ้น ซึ่งร่างกายอุดมสมบูรณ์ ไม่เหมือนคืนก่อน เดินเข้าใกล้ที่นั่งสมาธิของพระธุดงค์ แล้วก้มลงกราบ

พระธุดงค์ส่งจิตถามในใจว่า "เจ้า มาทำอะไรอีกหรือ"

"มาขอบคุณที่ท่านแนะนำญาติให้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลมาให้ข้าพเจ้า " เปรตตนนี้ ตอบด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม ผ่องใส

"ทำไม จึงมีร่างกายอุดมสมบูรณ์ ไม่เหมือนคืนก่อนล่ะ"

"ได้กินอาหาร ที่ญาติอุทิศมาให้.. ครับ "

"อืม..แล้วต้องการอะไรอีกหรือ"

"คงไม่แล้วล่ะ เพราะจะได้ไปเกิดภพใหม่"

"ถ้าได้เกิดเป็นมนุษย์ ก็อย่าประมาท หมั่นสร้างบุญสร้างกุศลไว้ จะได้ไม่เป็นอย่างนี้"

"ครับ" เปรต ตอบ

สักพักร่างนั้น ก็เริ่มจางหาย เหลือแต่ความมืดมิดภายในถ้ำ

ในวันที่สอง พอรุ่งเช้า พระธุดงค์ออกบิณฑบาตในหมู่บ้านตามเคย เมื่อไปถึงหน้าบ้านโยมบุญมี ก็มีเสียงเรียกว่า "นิมนต์ เจ้าค่ะ" ท่านหยุดเดิน นิ่ง ยืนสำรวม นางจัดเตรียมอาหารใส่บาตร แล้วเดินช้าๆมาตักบาตร ด้วยความสงสัยในบุญที่ตนอุทิศไปให้ญาติ ว่าได้รับจริงหรือไม่?

นางเอ่ยถาม ว่า "พระคุณเจ้า.. ผีตนนั้น ยังมาปรากฏให้ท่านเห็นอีกหรือเปล่า"

พระธุดงค์ ตอบทันที ว่า "เมื่อคืนนี้ ก็มาปรากฏให้เห็นอีก"

"เป็นอย่างไรบ้าง ได้รับส่วนบุญที่โยมอุทิศไปให้หรือยัง"

"ได้รับแล้ว..โยม"

"ผีญาติของโยม บอกอะไรกับท่านอีกหรือเปล่า"

"บอกว่าจะไปเกิดใหม่"

โยม แสดงอาการดีใจ ปลาบปลื้มใจ มีสีหน้าแจ่มใสขึ้นทันที และเกิดศรัทธาเลื่อมใสในพระธุดงค์รูปนี้เป็นอย่างยิ่ง และนางก็นิมนต์ให้มารับบาตรที่นี้เป็นประจำ เผื่อโยมจะได้มีโอกาศทำบุญบ้าง

พระธุดงค์ พูดว่า " ถ้ายังปฏิบัติธรรมอยู่ที่ถ้ำใกล้หมู่บ้านนี้ ก็จะมารับบาตรประจำ นะคุณโยม"

นาง จึงพูดขึ้นว่า " พระคุณเจ้า ยังจะจาริกสู่ที่อื่นอีกหรือ"

"อาตมา เป็นพระธุดงค์ ไม่ติดที่อยู่ เดินทางไปเรื่อยๆ ค่ำไหน ก็ปักกลดนอนที่นั้น เหมือนนกขมิ้นอ่อน ค่ำไหน นอนนั้น"

"โอ้! ชีวิตพระนี้ คงลำบากมาก"

" ลำบากกาย หรือทุกข์กายบ้าง แต่จิตใจ ก็มีความสุข ความสงบ ความปลอดโปร่ง"

"พระคุณเจ้าเป็นคนที่ไหนล่ะค่ะ หน้าตาดูเหมือนคนในเมือง"

"อาตมาเป็นคนอีสาน ลูกข้าวเหนียวโดยกำเนิด"

"ทำไม จึงออกบวชล่ะ"

"อาตมา อยากศึกษาธรรมะ และปฏิบัติธรรม เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสทั้งหลาย"

"อ๋อ..นึกว่าอกหัก จึงออกบวช" นางพูดด้วยสีหน้าอมยิ้ม

"เอาแค่นี้ก่อน ขอให้โยมหมั่นสร้างบุญบ่อยๆ ผลบุญจะส่งให้โยมมีความสุขเอง" พระธุดงค์รีบพูดตัดบท แล้วเดินจากไป ไม่กลับมาที่นี้อีก..

บทที่ 3 นักปกครองผู้ยิ่งใหญ่

เวลาเย็นใกล้มืดค่ำ อากาศเริ่มเย็นลง ลมพัดใบไม้ปลิวไสว และร่วงลงสู่พื้นปฐวี ข่าวคราวเรื่องจะยึดอำนาจ รัฐประหารของกลุ่มทหาร เริ่มหนาหูขึ้นทุกขณะ ชาวบ้านต่างวิตกังวลเป็นอย่างยิ่ง กลัวจะมีการนองเลือดเหมือนในอดีต ต่างจับกลุ่มคุยกัน วิพากษ์วิจารณ์เหตุการณ์บ้านเมืองซึ่งระส่ำระสายไปทั่วทุกหย่อมหญ้า ปัญหาการชุมนุม การประท้วงในบ้านเมืองไม่รู้จักจบสิ้น เนื่องจากมีการแบ่งฝักฝ่าย แบ่งกลุ่มเพื่อจะแย่งชิงอำนาจกันเป็นใหญ่ ช่างน่าเวทนาเหลือเกิน เมื่อคนไทยเข่นฆ่ากันเอง ผู้ใหญ่โชตินั่งคุยกับชาวบ้าน แลกเปลี่ยนความคิดกันและกัน และถือโอกาสชี้แจงนโยบายพัฒนาชนบท หมู่บ้านให้เจริญก้าวหน้า ทุกคนเงียบ ตั้งใจฟัง ขณะที่กำลังนั่งคุยกันอยู่นั้น ตะวันก็ลับเหลี่ยมเขา ความมืดย่างเข้ามาแทนที่ หลังจากนั้น ก็ต่างแยกย้ายกันกลับบ้านของตนเอง

ผู้ใหญ่โชติ เดินครุ่นคิดคนเดียวเกี่ยวกับเหตุการณ์ความไม่สงบในบ้านเมือง พอถึงบ้านก็ได้เวลารับประทานอาหรเย็น ซึ่งภรรยาได้จัดแจงเตรียมไว้เรียบร้อย สมกับตำแหน่งแม่ศรีเรือน

ธัมมิกา พูดทักก่อนว่า "คุณ..ได้เวลาทานข้าวแล้ว ซึ่งลูกๆกำลังรออยู่"

ผู้ใหญ่โชติ ตอบ " อืม..พร้อมแล้วหรือ"

"พร้อมแล้ว ..พ่อ!" ลูกสาวแทรกพูดขึ้น ด้วยสีหน้าหิวข้าว

ทุกคน นั่งร่วมวงกินข้าว และพูดคุยกันด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม แจ่มใส

พ่อเอ่ยถามลูกชายว่า "ในฐานะลูกเรียนรัฐศาสตร์ ลูกมีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง"

"เรื่องอะไรครับ..พ่อ"

"เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติแบบนี้ มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง"

"อ๋อ..เรื่องการเมืองการปกครอง มันเป็นเรื่องของอำนาจและผลประโยชน์ แบ่งผลประโยชน์ไม่ลงตัว ก็มีการเรียกร้องประท้วงกันขึ้น อ้างเรียกร้องประชาธิปไตย แท้จริงแล้วเพื่อต่อรองอำนาจ และผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน"

"ที่มหาวิทยาลัย ในตัวจังหวัดที่ลูกเรียน มีกลุ่มปลุกระดมนักศึกษาบ้างหรือเปล่า"

"ก็มีบ้าง ซึ่งมีความคิดเห็นแตกต่างกัน ปัจจุบันสังคมไทยเริ่มรู้ทันเหตุการณ์บ้านเมืองจากสื่อต่างๆ เช่น โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้นไม่เหมือนรุ่นเก่าๆที่โดนปิดสื่อ"

"สมัยที่พ่อยังหนุ่ม ก็มีการยึดอำนาจ รัฐประหาร ปฏิวัติบ่อยครั้ง ทางราชการตั้งข้อหากลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตยว่าเป็นคอมมิวนิสต์ จนบางคนต้องหนีเข้าป่า และนักศึกษาก็เข้าป่ากันเยอะในช่วงนั้น"

"ทุกวันนี้ คนไม่เข้าป่ากันแล้วล่ะ พ่อ"

"คงไม่มีป่าจะอยู่มั้ง ป่าไม้เหลือน้อย"

"ยุคกาลเวลาเปลี่ยนไป ถ้าต่อสู้กัน ก็ต้องต่อสู้ในเมือง เป็นสงครามกลางเมืองมากกว่า..ครับพ่อ"

"ยิ่งน่ากลัวกว่าเดิมเสียอีก" พ่อพูดด้วยสีหน้าเคร่งขึมจริงจัง

ลูกสาวพิมพ์ปภัทร์ พูดแทรกขึ้นว่า "บ้านเมืองจะสงบเมื่อไหร่"

"คงจะยากแหละ..ลูก"

"เพราะนักการเมือง ทะเลาะกัน ต่างกลุ่มต่างฝ่ายอยากมีอำนาจในการบริหารประเทศ"

"แย่จริงๆนะ นักการเมืองไทยเรา" ลูกสาว พูดเสียงอ่อยๆ

ผู้เป็นแม่ ถามว่า "ปีหน้า ลูกจะเข้าเรียนมหาวิทยาลัยแล้ว จะเรียนคณะสาขาวิชาอะไรล่ะ"

"คงจะเรียนครุศาสตร์ มั้ง..ค่ะแม่"

"เกี่ยวกับอะไรล่ะ"

"ก็เป็นครู ค่ะแม่"

"อืม..ดีเหมือนกันนะ จะได้มาเป็นครูที่บ้านเรา ช่วยกันพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอนให้มีความเจริญ เท่าเทียมหมู่บ้านอื่นเขา"

"ก็หวังอย่างนั้นแหละ ค่ะแม่"

ผู้เป็นพ่อ พูดเปรยว่า "อย่างน้อยๆ ลูกทั้งสองคน คงจะได้ทำงานเป็นข้าราชการ เพราะมั่นคงดี"

เมื่อทุกคนกำลังคุยกันและกินข้าวไปด้วย หนังท้องก็เริ่มตึง อิ่มอร่อยด้วยอาหารพื้นบ้าน เสร็จจากทานอาหารค่ำแล้ว ก็เตรียมอาบน้ำเพื่อชำระร่างกายก่อนนอน สายลมหนาว ยังพัดกระหน่ำจนบ้านสั่นสะท้าน วันนี้เป็นคืนวันเพ็ญดวงจันทร์ส่องแสงสว่างไสว เมื่อทุกคนอาบน้ำเสร็จกันแล้ว ลูกชายหยิบกีตาร์มาดีดพลางร้องเพลงพลางสร้างบรรยากาศสนุกสนานที่ระเบียงบ้าน สักครู่ผู้เป็นพ่อก็เดินมา เเละนั่งเก้าอี้โยกไปมาใกล้ๆกับที่ลูกชายนั่งเล่นกีตาร์

พ่อเอ่ยชมลูกว่า "ร้องเพลงเสียงดี น่าจะเป็นนักร้องได้"

"ใจรักดนตรี..ก็เลยหัดเล่นคลายความเหงา ครับพ่อ"

"อืม..ก็ดีแล้ว ใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ดีกว่าไปมั่วสุมเสพยาเสพย์ติดกัน ยิ่งหมู่บ้านเรา ก็เริ่มมีข่าวปัญหายาบ้าเข้ามาระบาดแล้ว"

"ใช่ ครับ เพื่อนของผมบางคนที่มหาวิทยาลัยก็เสพยาบ้ากัน"

"ลูก..คงไม่ไปเสพกับเขาล่ะ" พ่อถามด้วยความสงสัย

"ไม่ ครับ"

"ทุกวันนี้ ปัญหาสังคมเยอะมาก ยิ่งเจริญเท่าไหร่ สังคมยิ่งฟอนเฟะ เพราะคนขาดศีลธรรม ขาดจิตสำนึก ขาดความรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง"

"ใช่.. ครับพ่อ"

"เมื่อลูกเรียนจบแล้ว อยากเป็นอะไรล่ะ"

"เรียนรัฐศาสตร์ ก็ต้องเป็นนักปกครองซิครับ เป็นปลัดอำแภอ นายอำเภอ หรือไม่ก็ทำงานในกระทรวงมหาดไทย หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือนักการเมือง "

"ทางเลือกก็เยอะ เรียนสายปกครอง"

"ใช่ ครับ ..อย่างพ่อ ก็เป็นผู้ปกครองหมู่บ้าน ยิ่งทุกวันนี้รัฐมีนโยบายกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ให้มีการเลือกตั้งในท้องถิ่นขึ้น อย่างเช่น อบต.องค์กรบริหารส่วนตำบล หรือ สท.สมาชิกสภาเทศบาลตำบล จะว่าไปแล้ว ก็เป็นการกระจายความเจริญสู่ชนบทอย่างหนึ่ง"

"อืม..ทำไม ปัญหาคอรัปชั่น จึงมีไปทุกหน่วยงาน"

"พูดยาก ครับพ่อ..เรื่องความโลภของคน ทุกคนก็มุ่งหวังอยากรวย อยากมีเงิน จึงทำให้มีการทุจริตคอรัปชั่นขึ้นทุกหน่วยงานราชการ"

"จะมีวิธีแก้ไขหรือเปล่า"

"มี..แต่ต้องสร้างคนให้มีคุณธรรม จริยธรรม และรัฐต้องปกครองโดยธรรม หรือที่เรียกกันว่า ธรรมาภิบาล ซึ่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเคยสอนนักศึกษาไว้อย่างนี้"

"เอ่อ..คงจะใช่แหละ พ่อก็เคยได้ยินได้ฟังมาบ้าง ศีลธรรมไม่กลับ โลกาจะพินาส พระสงฆ์ท่านเคยเทศน์สอนไว้ แต่คนในสังคมปัจจุบันไม่ใส่ใจเรื่องนี้"

"พ่อครับ..ผมเคยอ่านหนังสือเกี่ยวกับทศพิธราชธรรม หลักการปกครองบ้านเมืองให้มีความสงบสุข และอยู่เย็นเป็นสุข ผู้ปกครองจะยิ่งใหญ่ได้ต้องมีคุณธรรมเหล่านี้ ซึ่งจะอธิบายให้ฟังง่ายๆ คือ

1. ทาน การให้ คือสละสิ่งของช่วยเหลือประชาชน

2. ศีล ความประพฤติดีงามด้วยกาย วาจา มีระเบียบวินัย เคารพกฎกติกาของบ้านเมือง

3. ปริจจาคะ การบริจาค สละความสุขส่วนตัวเพื่อส่วนรวม

4. อาชชวะ ความซื่อตรง ไม่คดโกง ไม่ทุจริตคอรัปชั่น

5. มัททวะ ความอ่อนโยน มีอัธยาศัยไม่หยาบกระด้าง

6. ตปะ ความแผดเผากิเลสคือความโลภ ความโกรธ ความหลง มิให้ย่ำยีจิต ระงับยับยั้งใจได้

7. อักโกธะ ความไม่โกรธ

8. อวิหิงสา ความไม่เบียดเบียน

9. ขันติ ความอดทน อดกลั้น

10. อวิโรธนะ ความไม่คลาดธรรม คือความเที่ยงธรรม ยุติธรรม"

"ทำไม จำได้แม่น ตั้ง 10 ข้อ เยอะขนานนี้"

"เคยเขียนรายงานหลักธรรมสำหรับนักปกครองส่งอาจารย์ที่มหาวิทยาลัย..ครับพ่อ"

"มิน่าล่ะ จึงจำได้แม่นยำ"

"สันติวิธี หรือสมานฉันท์ ที่กลุ่มต่างๆเรียกร้องให้ปรองดองกัน เพื่อแก้ไขปัญหาความขัดแย้งของกลุ่มชุมนุมต่างๆ จะเกิดได้จริงหรือ"

"ก็แค่ทางออกทางหนึ่งเท่านั้น ทุกปัญหา ทุกความขัดแย้ง มีทางออกเสมอ ขอให้ตั้งสติ และใช้ปัญญา มองปัญหาให้ทะลุปรุโปร่ง"

"อืม..ขอให้ความสงบเรียบร้อยกลับคืนสู่บ้านเมืองโดยเร็วเถิด"

ทันใดนั้น ผู้เป็นแม่ ก็เดินมาบอกลูกชายว่า "เข้าไปนอนเถอะ..ลูก ดึกมากแล้ว เดี๋ยวนอนตื่นสาย ไม่ทันรถไปเรียนหนังสือ"

ผู้เป็นพ่อ พูดว่า "อ้าว..พรุ่งนี้ วันจันทร์หรือ"

ลูกชาย ตอบ "ใช่ ครับ"

" เอาละ..แค่นี้ก่อน วันหลังค่อยคุยกันใหม่" พ่อ พูดขึ้น

สองพ่อลูก แยกย้ายไปนอน ในบ้านเงียบลงทันที ได้ยินแต่เสียงลมพัดสังกะสีบ้านแคร็งๆ

ใกล้สว่าง เสียงไก่ขันดังไปทั่วหมู่บ้านเสมือนนาฬิกาปลุกให้ชาวบ้านตื่นจากความหลับไหล ธัมมิกาผู้เป็นแม่ตื่นก่อนทุกคนในบ้าน เพื่อจัดเตรียมอาหาร แม้ความหนาวเหน็บจากน้ำค้างเยือกเย็นถึงกระดูก แต่ด้วยสัญชาตญาณความเป็นแม่บ้านต้องรับผิดชอบในหน้าที่ของตนเอง และนางก็ทำหน้าที่ของตนไม่เคยบกพร่อง แสงเงิน แสงทองโผล่ทางทิศบูรพาส่งสัญญาณว่าอีกไม่นาน ดวงอาทิตย์จะโผล่ขึ้นมา เพื่อเปล่งแสงสว่างให้มวลมนุษย์ได้สัมผัส

เมื่อดวงอาทิตย์สาดส่องเข้ามาในบ้าน ทำให้ทุกคนต้องลุกขึ้นเก็บที่นอนและลงบันใดไปห้องน้ำล้างหน้าแปรงฟัน เสร็จแล้วก็ขึ้นมากินข้าวร่วมกันพร้อมหน้าพร้อมตาอย่างมีความสุข ได้เวลาแต่ละคนแยกย้ายกันไปทำหน้าที่ของตนเอง ภัทรภัทร์ และพิมพ์ปภัทร์ก็ต้องเรียนหนังสือโดยนั่งรถสองแถวจากหมู่บ้านไปสู่อำเภอ พิมพ์ปภัทร์เรียนโรงเรียนประจำอำเภอ มีรถสองแถวรับส่งทุกเช้าเย็น ส่วนภัทรภัทร์ต้องต่อรถประจำทางอีกจากอำเภอสู่จังหวัด เผื่อจะถึงมหาวิทยาลัยก็สายพอสมควร โดยปกติภัทรภัทร์จะพักอยู่ที่หอพักนักศึกษาที่มหาวิทยาลัยจัดไว้ วันศุกร์เลิกเรียน เวลาสักบ่ายสามโมงจะกลับไปนอนที่บ้านโดยนั่งรถประจำทางกลับ นายโชติผู้เป็นพ่อจะขี่มอเตอร์ไซค์มารับที่อำเภอ ทำอย่างนี้เป็นประจำ วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า...

บทที่ 4 เพื่อนแท้ เพื่อนเทียม

วันและคืนผ่านไป ปีใหม่ย่างใกล้เข้ามาทุกขณะ ภัทรภัทร์ใช้ชีวิตในหอพักของมหาวิทยาลัยกับเพื่อนๆอย่างสนุกสนาน ตามสไตล์วัยรุ่น เตรียมเฉลิมฉลองปีใหม่อย่างคึกครื้น หนุ่มๆสาวๆในรั้วมหา'ลัยต่างดีใจ และรอคอยเวลานั้นจะมาถึง หน่วยงานต่างๆเตรียมจัดงานส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่อย่างคึกคัก จนกระทั่งวันเวลาที่รอคอยก็มาถึง หนุ่มๆสาวๆที่เป็นนักศึกร่วมรุ่น นัดรวมตัวกัน เพื่อเฉลิมฉลองปีใหม่ เมื่อใกล้เที่ยงคืน ต่างคนมีจิตจดจ่อนับถอยหลัง เก้า แปด เจ็ด หก ห้า สี่ สาม สอง หนึ่ง ทันใดนั้นเอง เสียงพลุก็ดังสนั่นไปทั่วเมือง ทุกคนส่งเสียงดังกึกก้องทั่วแผ่นดิน กลุ่มเพื่อนๆของภัทรภัทร์ที่สนิมสนมกันมีสี่คน ชวนกันไปเที่ยวต่อที่สถานบันเทิงซึ่งมีแสงสีเสียงล่อให้หลงใหล ทุกคนกำลังนั่งรินเหล้าเบียร์ดื่มกันอย่างร่าเริงสนุกสนาน

เพื่อนคนหนึ่งพูดขึ้นเบาๆว่า "ใครสนใจของดีบ้าง ร้านนี้มีของดี"

"ของดีอะไร" เพื่อนทุกคนพูดพร้อมกัน

"ยาเสพติด มีทั้งยาไอซ์ ยาอี ยาบ้า"

"คงไม่ดีมั้ง..เพื่อน" ภัทรภัทร์ พูด

"ไม่ลอง ไม่รู้ นะโว้ย"

"ไม่เอาดีกว่า..เดี๋ยวเสียอนาคต" เพื่อนอีกคน พูดขึ้น

"เอ็ง..เคยลองหรือยัง" ภัทรภัทร์ ถามด้วยความสงสัย

"เคยซิ..ไม่เคยลอง จะชวนมาที่นี้ทำไม"

"ระวังตำรวจจับ นะโว้ย"

"อืม..ระวังเหมือนกัน"

"กลับกันดีกว่า ง่วงนอนแล้ว" เพื่อนอีกคนหนึ่ง พูด

"โอ.เค." ทุกคนพูด

ครั้นจ่ายค่าอาหารกับแก้มเหล้าเบียร์เสร็จแล้ว ก็เดินออกจากไนท์คลับ เพื่อนคนหนึ่งเมามากไป ต้องประคองกันเดินกลับจนถึงที่พัก ต่างคนต่างง่วง พอเอนกายลงแตะพื้น ม่อยหลับไปทันที ตะวันสาดแสงส่องทางหน้าต่าง ทุกคนก็ลุกจากที่นอนอาบน้ำล้างหน้า แต่งตัว

"วันนี้ วันที่หนึ่ง มหาวิทยาลัยหยุดเรียน จะไปเที่ยวไหนกันดี" ภัทรภัทร์ ถาม

"ไปเที่ยวห้าง หาจีบสาวๆดีกว่า" เพื่อนคนหนึ่ง ตอบด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

"เออ..ดีเหมือนกัน" เพื่อนทุกคน พูด

ต่อจากนั้น ทุกคนก็เดินเที่ยวห้างอย่างสนุกสนาน ดูนั่นดูนี่เพลิดเพลิน เวลาเที่ยงทุกคนเริ่มหิวข้าว เดินหาร้านอาหารและทานอาหารกันอย่างเอร็ดอร่อย พออิ่มแล้ว ชวนกันไปดูหนังต่อ

หลายวันต่อมา เพื่อนคนหนึ่งถูกจับในข้อหามียาเสพติด ตำรวจนำตัวไปสอบสวน ให้การกับตำรวจว่าขายมาหลายเดือนแล้ว ขายที่มหาวิทยาลัยบ้าง สถานบันเทิงต่างๆบ้าง

ภัทรภัทร์เมื่อรู้ข่าวว่าเพื่อนคนหนึ่งโดยตำรวจจับไป ก็ชวนเพื่อนอีกสองคนไปเยี่ยมที่เรือนจำ เมื่อเจอหน้าเพื่อนที่อยู่ในห้องขัง สีหน้าแววตาเศร้า

"ขอบคุณที่มาเยี่ยมนะ" เพื่อนที่ติดคุก พูดด้วยสีหน้าเศร้าๆ

"เราเป็นเพื่อนกัน ต้องช่วยกัน" ภัทรภัทร์ พูด

"อนาคตดีๆ ผมคงไม่มีอีกแล้ว"

"มีซิว่ะ..เพื่อน" ทุกคน พูดปลอบใจ

"เรียนก็ไม่จบ พ่อแม่ผมคงเสียใจมาก"

"พวกเรา จะเป็นกำลังใจให้" ภัทรภัทร์และเพื่อนอีกสอง พูดขึ้น ผู้คุมเรือนจำเดินมาบอกว่าหมดเวลาเยี่ยมแล้ว ภัทรภัทร์และเพื่อนสองคน ก็เดินจากไปด้วยสีหน้าเศร้าๆอดสงสารเพื่อนไม่ได้

ต่อมา ทางบ้านภัทรภัทร์โทรศัพท์มาหาว่าแม่ล้มป่วย วันศุกร์ตอนเลิกเรียน เดินไปขึ้นรถกลับบ้าน ขณะที่นั่งอยู่บนรถนั้น ครุ่นคิดหลายเรื่องทั้งเรื่องเพื่อนที่ติดคุก และแม่ที่ล้มป่วย พอไปถึงบ้านเห็นแม่นอนไอคร็อกๆแคร็งๆอยู่บนที่นอน

"แม่..เป็นอะไรมากหรือเปล่า" ลูกชาย ถามด้วยความเป็นห่วง

"เป็นไข้ ไม่สบาย ไม่กี่วันคงหายแหละ" แม่พูดเสียงเบาๆ

"ช่วงนี้ อากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้คนเป็นไข้หวัดเยอะ" ลูกชาย พูดขึ้น

"ใช่ คนในหมู่บ้านเรา เป็นไข้หวัดหลายคน" ผู้เป็นพ่อ พูดแทรกขึ้น

"พิมพ์ปภัทร์ ไปไหน..พ่อ" ลูกชาย ถาม

"นั่งคุยกับเพื่อนเขาอยู่มั้ง เดี๋ยวก็กลับมาแหละ" พ่อ ตอบ

ตะวันลับขอบฟ้า ความมืดมาเยือนอีกครั้ง พิมพ์ปภัทร์มาถึงบ้าน รีบขึ้นไปบนบ้านทันที เดินไปใกล้ๆ แล้วนั่งลงเช็ดตัวให้แม่

"ไปไหนมา..ลูก" แม่ถามด้วยความเป็นห่วง

"มาจากบ้านเพื่อน นั่งทำการบ้านที่นั้น"

"เพื่อนลูก..คงเรียนหนังเก่งซินะ"

"คะแม่..ทั้งเก่ง ทั้งดี"

"ดีแล้ว..ลูก! คบคนเป็นสิ่งสำคัญ คบเพื่อนดี ก็พลอยดีไปด้วย คบเพื่อนไม่ดี ก็พลอยแย่ไปด้วย"

ขณะที่ภัทรภัทร์นั่งอ่านหนังสือเพลินๆ ผู้เป็นพ่อก็เดินมานั่งลงใกล้ๆ ชวนคุยเรื่องราวต่างๆ

ผู้เป็นพ่อ เอ่ยถามว่า "เรียนหนังสือ เป็นงัยบ้างล่ะ"

"ก็เรื่อยๆ ครับพ่อ"

"ตอนนี้ ได้ข่าวว่าลูกติดเพื่อนมากใช่หรือเปล่า"

" ครับ..เรียนหนังสือต้องมีสังคม มีเพื่อนฝูงบ้าง"

"การคบเพื่อนเป็นสิ่งสำคัญในการดำเนินชีวิต คบคนพาล พานพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล"

ลูกสาว เดินมาใกล้ๆ แล้วถามขึ้นว่า " เพื่อนหรือมิตรมีกี่ประเภท ค่ะพ่อ"

"สองประเภท มิตรแท้ กับมิตรเทียม"

"มิตรแท้ หรือเพื่อนแท้ เป็นแบบไหน ค่ะพ่อ"

"มิตรแท้ มี 4 จำพวก คือ

1.มิตรอุปการะ ช่วยเหลือกันและกัน

2.มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์

3.มิตรแนะประโยชน์ ช่วยแนะนำในทางที่ดี ถูกต้อง

4.มิตรมีน้ำใจ

"แล้ว มิตรเทียมล่ะพ่อ"

"มิตรเทียม มี 4 เหมือนกัน คือ

1.คนปอกลอก คือคนคิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว คบเพราะหวังผลประโยชน์

2.คนดีแต่พูด คือดีแต่ยกอ้างนั่นอ้างนี่ เอาตัวรอดไปวันๆ

3.คนหัวประจบ คือ จะทำชั่ว ก็เออ จะทำดี ก็เออ ต่อหน้าสรรเสริญ ลับหลังนินทา

4.คนชวนฉิบหาย คือชวนดื่มน้ำเมา เที่ยวกลางคืน เล่นการพนัน"

"พ่อพูดเหมือนกับพระเทศน์" ลูกสาว พูดยิ้มๆ

"ชอบอ่านหนังสือธรรมะ มีสาระดี" ผู้เป็นพ่อ พูด

เสียงไอของแม่ดังคร็อกๆขึ้น ลูกสาวลุกขึ้นเดินไปหาแม่ ด้วยความห่วงใย สายเยื่อใยจากแม่สู่ลูก ทำให้ลูกซึมซับในด้านความกตัญญู ซึ่งแม่เฝ้าถนอมอบรมเลี้ยงมา สั่งสอนให้ลูกเป็นคนดี มีกตัญญูมาตลอดก็ได้ผล ลูกสาวหาผ้าห่มมาคลุมให้แม่ นอนไม่ห่างไกลจากแม่ เผื่อแม่เรียกใช้ ส่วนพ่อ และพี่ชาย ยังนั่งคุยกัน

" พรุ่งนี้ ลูกต้องไปดูแลไร่สวนองุ่นให้หน่อย" พ่อ พูด

"พ่อจะไปไหนล่ะ"

"เออ..ไปธุระ"

"ครับ..พ่อ"

พ่อลุกจากที่นั่ง เดินไปนอนพักผ่อน ลูกชายยังนั่งคิดถึงเพื่อนที่มหาวิทยาลัยในค่ำคืนที่ไร้แสงจันทร์ มีแต่แสงดาวระยิบระยับเท่านั้น

บทที่ 5 เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก

กาลเวลาผ่านไป วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า พระธุดงค์เดินถึงเขตชายแดนไทยพม่า อาศัยพักอยู่ตามป่าตามเขา จิตใจสงบขึ้นตามลำดับ บิณฑบาตบางวันก็ได้อาหาร บางวันก็ไม่ได้อะไร วันไหนไม่ได้อะไร ก็อาศัยพลังสมาธิมีปีติเป็นภักษา พอเลี้ยงร่างกายให้ดำเนินไปได้ ท่านดำเนินชีวิตอย่างนี้เรื่อยมาตามหลักสมณสารูป ด้วยหัวใจที่เปี่ยมล้นด้วยเมตตา และท่านแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลายเป็นประจำ จึงไม่มีอะไรมาทำอันตรายท่านได้ แม้ท่านจะเจอสัตว์ร้ายต่างๆในป่าเขา ไม่ว่าจะเป็นเสือบ้าง ช้างบ้าง งูพิษบ้าง ด้วยจิตที่เยือกเย็น พลังแห่งเมตตา แผ่กระจายไปทั่วพื้นป่า

อยู่มาวันหนึ่ง พระธุดงค์รูปนี้ ออกบิณฑบาตที่หมู่บ้านชาวดอย ซึ่งบ้านแต่ละหลังมุ่งด้วยหญ้าคาหรือหญ้าแฝก ซึ่งกระจัดกระจาย เรียงรายไปตามแนวเขา ส่วนใหญ่คนบนดอยยังนับถือผีเจ้าป่าเจ้าเขา ความเชื่อแบบดังเดิม แม้จะมีพระแนะนำให้ดำเนินชีวิตแบบชาวพุทธ คือยึดมั่นในพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ก็ตาม แต่วิถีชีวิตที่นี้ ยังยึดถือประเพณีเก่าๆสืบๆกันมาหลายชั่วอายุคน ยังไม่เปลี่ยแปลงเหมือนกับที่อื่น เมื่อพระธุดงค์เดินบิณฑบาตบนถนนที่ขรุขระเต็มไปด้วยก้อนหินก้อนกรวด ทุกคนในหมู่บ้านไม่สนใจพระรูปนี้เลย สุดท้ายท่านเดินกลับบาตรเปล่า พอท่านกลับใกล้จะถึงที่พัก มีโยมสองคนยืนรอใส่บาตร ท่านเปิดฝาบาตร โยมทั้งสองใส่ข้าวอาหารลงในบาตรด้วยอาการที่ก้มหน้าอย่างเดียว เหมือนมีอะไรซ่อนเร้น พอรับบาตรแล้ว ท่านเดินไปได้สักครู่ พอหันกลับหาไม่เห็นใครเลย ก็อดสงสัยไม่ได้ว่า "สองคนนี้ เป็นคนหรือเป็นผีบังบด"

หลายวันต่อมา ท่านเริ่มสังเกตว่าวันไหนท่านได้อาหารใส่บาตรจากชาวบ้าน ก็จะไม่เห็นโยมสองคนนี้ ถ้าวันไหนไม่มีใครสักบาตร จะมีโยมสองคนนี้ใส่บาตร ท่านนั่งครุ่นคิดอยู่คนเดียว หรืออาจเป็นผีบังบดแปลงกายเป็นมนุษย์ อันที่จริงผีบังบดก็เป็นเทวดาจำพวกหนึ่ง ที่คอยช่วยเหลือพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ มีเมตตาธรรม ซึ่งท่านเคยได้ฟังมาจากครูบาอาจารย์รุ่นเก่าๆที่เดินธุดงค์เป็นประจำ มักจะเจอกับสิ่งนี้ตามป่าตามเขา

อย่างไรก็ตาม เมื่อท่านสังเกต ก็เข้าใจว่า "สองคนนี้ ไม่ใช่คนแน่" จึงไม่สนใจในเรื่องนี้อีก เมื่ออยู่ที่นี้หลายวัน เริ่มมีคนอยู่จักว่าท่านปักกลดอยู่ตรงนี้

อยู่มาวันหนึ่ง มีคณะครูสามคน ที่สอนหนังสือนักเรียนชาวเขา นำอาหารมาถวายถึงที่พัก และนั่งพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กัน

ครูหนุ่มคนหนึ่ง พูดขึ้นก่อนว่า "จะพัฒนาชาวเขาอย่างไร ให้อยู่ดีกินดี เพราะเห็นแต่ละครอบครัว ยากจนกันทั้งนั้น"

"โยมมาสอนหนังสือในถิ่นทุรกันดารอย่างนี้ ก็เป็นการช่วยกันพัฒนาอยู่แล้ว พยายามสอดแทรกความรู้และสอนวิธีการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง" พระธุดงค์ พูด

"คนที่นี้ ทำไร่เลื่อนลอย ทำลายป่ากันมากขึ้น ไม่รู้จักแก้ไขอย่างไร" ครูสาวคนหนึ่ง ถาม

"มันเป็นเรื่องใหญ่ คงค่อยสอนปลูกฝังค่านิยมใหม่ ให้เห็นคุณค่าของป่า และผลเสียจากการทำ

ลายป่า เป็นอย่างไร" พระธุดงค์ พูดด้วยสีหน้ายิ้มแย้ม

"ทุกหน่วยงานทั้งโรงเรียน ชาวบ้าน พระสงฆ์ ต้องช่วยกัน ร่วมมือกัน การพัฒนาจึงประสบความสำเร็จ" ครูสาว พูด

"อาตมา จะช่วยเต็มที่ ตามความรู้ ความสามารถที่มีอยู่ ในการพัฒนาด้านจิตใจ และปลูกฝังคุณธรรม ศีลธรรมให้กับชาวบ้าน" พระธุดงค์ พูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา

"ถ้าอย่างนั้น การส่งเสริมคุณธรรม ปลูกจิตสำนึก คงจะง่ายขึ้น เจ้าค่ะ" ครูสาว พูดด้วยความหวัง และคณะครูก็กราบลาพระคุณเจ้า มุ่งหน้าสู่โรงเรียนเพื่อสอนหนังสือนักเรียนตามหน้าที่ของตนเอง

สภาพอาคารเรียนหนังสือยังเป็นไม้เก่าๆซึ่งทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ขาดงบประมาณในการดูแลซ่อมแซม นักเรียนแต่งตัวมอมแมม ตามฐานะที่ยากจน นักเรียนบางคนก็เดินทางไกลเพื่อจะมาเรียนหนังสือ อย่างไรก็ตาม ด้วยจิตวิญญาณของความเป็นครู ไม่เคยทอดทิ้งหน้าที่ อยากให้ลูกศิษย์มีความรู้ เป็นเยาวชนที่ดีของประเทศชาติ แม้จะอยู่ลำบากแค่ไหน ครูต้องอดทน นี่แหละคืออุดมการณ์ของการเป็นครู

เวลาเย็น มีโยมผู้ชายคนหนึ่ง เดินมาที่วัดชายป่าเพื่อจะระบายความทุกข์กับพระธุดงค์ เผื่อความทุกข์ในใจจะคลายไปได้บ้าง ไม่มากก็น้อย พอถึงที่พักพระธุดงค์ ซึ่งปักกลดใต้ร่มไม้ โยมอุบาสกคนนี้ เดินเบาๆเข้าไปที่ใกล้กลด แล้วนั่งลงกราบสามครั้ง

สักครู่หนึ่ง พระธุดงค์ เอ่ยถามว่า "โยมมีธุระอะไรหรือ"

"ผม ทุกข์ทางใจมาก ไม่รู้จะไปพึ่งใคร เห็นพระคุณเจ้า คิดว่าอาจจะช่วยได้ จึงแวะเข้ามาหา" โยมคนนี้ พูดขึ้นด้วยสีหน้าเศร้าหมอง

"ทุกข์ เรื่องอะไรล่ะ" พระธุดงค์ ถาม

"เมียผมแอบนอกใจ ไปมีคนอื่น ผมโกรธมาก จึงฆ่าเมียตาย ติดคุกหลายปี จงพ้นโทษออกมา"

"ภาพยังหลอกหลอนโยมอยู่หรือเปล่า"

"ใช่ครับ..ขนานนอนหลับ ยังผวาสะดุ้งตื่น ฝันว่าวิญญาณเมียจะเอาไปอยู่ด้วย"

"โยม..ก่อนนอนแผ่เมตตาหรือเปล่า"

"ไม่เคย..พระคุณเจ้า"

"ฉะนั้น ควรสวดมนต์ นั่งภาวนา แผ่เมตตาให้แก่วิญญาณภูตผีปีสาจเจ้ากรรมนายเวรบ้าง"

"อือ..สวดมนต์บทไหนล่ะ"

"บทไหนก็ได้ ที่โยมจำได้ หรือบทง่ายๆ คือบทพุทธคุณ อิติปิ โส ภควา..ฯ ธรรมคุณ สวากขาโต ภควตา ธัมโม..ฯ สังฆคุณ สุปฏิปันโน ภควโต สาวกสังโฆ..ฯ สวดไปเรื่อยๆ จิตใจจะสงบขึ้น"

"บทนี้ ผมพอจำได้ครับ..แต่นั่งสมาธิ ยังไม่รู้จักวิธีทำ"

"การนั่งสมาธิ คือการนั่งเท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ทำตัวให้ตรงไม่ต้องเกร็ง หลับตาลงเบาๆ เอาจิตจดจ่อที่ปลายจมูก ลมหายใจเข้า ภาวนาว่า "พุท" ลมหายใจออก ภาวนาว่า "โธ" กำหนดให้ต่อเนื่องเหมือนสายน้ำ เมื่อจิตจดจ่อและต่อเนื่อง สมาธิคือความสงบแห่งจิตใจ จะเกิดขึ้น แทน ความทุกข์ในจิตใจจะสงบระงับลงได้" พระธุดงค์ พูดอธิบายให้เข้าใจ

"ครับ..ผมจะลองทำดู"

"เมื่อโยมทำได้ พลังเมตตาจะแผ่กระจายไปทั่วทุกแห่งหน ความโกรธ ความอาฆาต จะระงับลง แม้เวลาหลับไป ก็จะไม่ฝันร้าย"

"อานิสงส์มากขนานนี้ เชียวหรือ..พระคุณเจ้า"

"ใช่..ในทางพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าตรัสอานิสงส์ของเมตตาไว้ 11 ข้อ คือ

..หลับเป็นสุข

..ตื่นเป็นสุข

..ไม่ฝันร้าย

..เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย

..เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย

..เทวดาย่อมรักษา

..ไฟ ยาพิษหรือศาสตรา ไม่อาจกล้ำกลายได้

..จิตตั้งมั่นโดยเร็ว

..สีหน้าผ่องใส

..ไม่หลงทำกาละคือไม่หลงขณะที่จะตาย

..เมื่อไม่ถึงคุณอันยิ่ง ย่อมเข้าถึงพรหมโลก

ถ้าโยมมีเมตตา แผ่เมตตาเป็นประจำ เจริญ กระทำให้มาก อานิสงส์เหล่านี้ พึงหวังได้" พระธุดงค์ พูดด้วยสีหน้าผ่องใสเต็มไปด้วยเมตตาธรรม

"โอ้..อานิสงส์ยิ่งใหญ่จริง" โยม อุทานขึ้น

"ถ้าอย่างนั้น โยมควรทำให้ได้ เจริญเมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม"

"สังคมไทย เข่นฆ่าราวี เบียดเบียนซึ่งกันและกัน แสดงว่าคนไทยขาดเมตตาต่อกัน ใช่หรือเปล่า" โยมผู้ชาย ถาม

"ไม่ว่าสังคมไทย หรือสังคมโลก ที่ฆ่ากัน เบียดเบียนกันทุกวันนี้ เพราะคนขาดเมตตาธรรมนั้นเอง เมตตาธรรมเท่านั้น ที่ค้ำจุนโลกได้ " พระธุดงค์ พูด

"วันนี้ ผมได้ความรู้ทางพุทธศาสนาพอสมควร" โยมพูดขึ้น

"เออ..ดีแล้ว" พระธุดงค์ พูด

โยมผู้ชายคนนี้ กราบลาพระธุดงค์กลับบ้าน ฝึกฝนตนเองให้มีเมตตาต่อเพื่อนมนุษย์ รักใคร่ปรารถนาดีต่อผู้อื่น และจิตใจของโยมคนนี้ ก็สงบเยือกเย็น มีความสุข ปลอดโปร่ง ไม่เสียชาติเกิดที่ได้เกิดมาเป็นมนุษย์พบพระพุทธศาสนา

บทที่ 6 ผีร้าย 6 ตัว

ย่างเข้าหน้าร้อนต้นเดือนมีนาคม อากาศร้อนอบอ้าวไปทั่วพื้นป่า ใบไม้เปลี่ยนสีจากเขียวกลายเป็นเหลืองแดง และร่วงหล่นสู้พื้นดิน เสมือนมันคอยเตือนมวลมนุษย์ให้เข้าใจการเปลี่ยนแปลงของสรรพสิ่งทั้งหลายบนโลกใบนี้ ไม่มีอะไรแน่นอน ผันแปร เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ชีวิตคนเราก็เช่นเดียวกัน ไม่เที่ยงแท้ เปลี่ยนแปลง หมุนไปตามกาลเวลา เกิด แก่ เจ็บ ตาย สุดท้ายกลายเป็นธุลีดิน พระธุดงค์รูปนี้ นั่งพิจารณาความเปลี่ยนแปลงของใบไม้ เสียงจักจั่นเรไรดังกึกก้องทั่วพื้นป่าเหมือนเสียงบรรเลงจากสวรรค์ขับกล่อม ซึ่งเสียงจักจั่นมีจังหวะสูงๆต่ำๆไพเราะชวนน่าฟัง ไม่เป็นที่รำคาญรบกวนจิต แต่กลับทำให้จิตมีความสงบ เยือกเย็นยิ่งขึ้น บรรยากาศท่ามกลางขุนเขา มีลำธารไหลผ่าน ได้ยินเสียงลำธาร ได้ยินเสียงนกร้อง ได้ยินลมพัดใบไม้ ซึ่งชวนให้หลงใหลในธรรมชาติ จนไม่อยากจะย้ายไปที่อื่น

อย่างไรก็ตาม ปณิธานของตนเอง ต้องเดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ในที่สุดก็ตัดสินใจเดินย้อนกลับตามเป้าหมายที่วางไว้ บนเส้นทางเดินย้อนกลับนั้นผ่านใกล้ตัวอำเภอหนึ่ง พอสายัณห์ตะวันเย็น ก็หาที่ปักกลดท่ามกลางแมกไม้ ในย่านอำเภอนี้ มีคนเล่นการพนันมาก ตั้งวงกันตามร่มไม้ใหญ่ เสียงลุ้นสูง-ต่ำ ดังไปทั่วบริเวณนั้น พระธุดงค์เดินผ่านบริเวณนั้น ได้ยินเสียง ก็รู้ว่ามีคนเล่นการพนันกันแถวนี้ จึงเดินห่างออกจากจุดนี้ไป พอพ้นจากเสียงเหล่านั้น ก็เจอลำธารใส เหมาะที่จะปักกลด จึงตัดใจปักกลดที่นี่ พอแดดร่มลมตก ความมืดคลานเข้ามาแทนที่ บรรยากาศเริ่มเย็นลง  ขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่นั้น ก็มีเสียงสัตว์ป่าออกหากินยามค่ำคืน ท่านก็กำหนดเสียงได้ยินหนอๆไปเรื่อยๆ จนจิตสงบเป็นสมาธิหลายชั่วโมง พอคลายสมาธิจึงเปลี่ยนอิริยาบถจากนั่งเป็นนอน กำหนดต่อเนื่องจนหลับไป

พอรุ่งแจ้ง แสงทองสาดส่องฟ้า ท่านออกเดินภิกขาจารบิณฑบาตโปรดชาวบ้าน มีโยมคนหนึ่งนิมนต์ท่านขึ้นไปบนบ้านเพื่อจะทำบุญถวายอาหาร บ้านใกล้เรือนเคียงรู้ว่าพระมาโปรด เตรียมอาหารกับข้าวมาใส่บาตร พอท่านรับอาหารบิณฑบาตแล้ว ก็พิจารณาฉันอาหารในบาตร พอทำภัตกิจเสร็จ
โยมเจ้าของบ้าน ถามว่า "พระคุณเจ้า พักที่ไหนล่ะ"
"ที่ชายป่า ท้ายหมู่บ้าน" พระธุดงค์ ตอบ
"เจออะไรบ้างหรือเปล่า" โยม ถามด้วยสีหน้าอยากรู้
"เปล่า ไม่เจออะไร"  พระธุดงค์  ตอบด้วยเสียงเบาๆ
"อ่อ..นึกว่าเจอผีซะอีก" โยม พูดขึ้น
"มีแต่เสียงสัตว์ป่าออกหากิน ไม่มีผีหรอก" พระธุดงค์ พูด
"ที่ปักกลดพระคุณเจ้า แต่ก่อนมีคนฆ่ากันตาย" โยมเจ้าของบ้าน เอ่ยพูด
"อ้าว เหรอ! คงไปเกิดกันหมดแล้วมั่ง..โยม" พระธุดงค์ พูด
"ยัง พระคุณเจ้า วันก่อนยังหลอกชาวบ้านอยู่" โยม พูด
"ผีอะไร ก็ไม่น่ากลัวเท่ากับผีหกตัวหรอก" พระธุดงค์ พูดเพื่อจะอธิบายธรรมะให้โยมเข้าใจ
"ผี 6 ตัว ชนิดไหนบ้างล่ะ" ชาวบ้าน ถามพร้อมกัน
"มิใช่ผีกระสือ กระหัง ผีปอบ หรือวิญญาณล่องลอย อะไรหรอก  แต่ผีพวกนี้สิงผู้ใด จะทำให้ผู้นั้นฉิบหายวายวอด มีแต่เสื่อมลง หาความเจริญมิได้" พระธุดงค์ พูด
" ไม่ใช่ ผีพวกนี้แล้ว เป็นผีแบบไหนล่ะ" ชาวบ้าน ถามด้วยความสงสัย
พระธุดงค์ จึงพูดขึ้นว่า

  • "ผีตัวที่หนึ่ง ชอบดื่มสุราเป็นอาจิณ ไม่ชอบกินข้าวปลาเป็นอาหาร
    • ผีตัวที่สอง ชอบเที่ยวยามวิกาล ไม่รักบ้าน รักลูก รักเมียตน
      • ผีตัวที่สาม ชอบดูการละเล่น ไม่ละเว้นบาร์คลับ ละครโขน
        • ผีตัวที่สี่ ชอบคบคนชั่ว มั่วกับโจร หนีไม่พ้นอาญาตราแผ่นดิน
          • ผีตัวที่ห้า ชอบเล่นม้ากีฬาบัตร สารพัดถั่วโปไฮโลสิ้น
            • ผีตัวที่หก ชอบเกียจคร้านการทำกิน มีทั้งสิ้นหกผีอัปรีย์เอย 
            • ผีทั้งหกตัวนี้ น่ากลัวกว่าผีเหล่าอื่น อย่าให้ผีตัวใดตัวหนึ่งในบรรดาผีหกตัวนี้สิงในร่างได้ ผีเหล่านี้จะนำพาไปสู่ทางแห่งความเสื่อม ทำให้พินาศ ทำโภคทรัพย์ย่อยยับ"
            • ชาวบ้านพากันนั่งฟังเงียบเพราะมันแทงใจดำเหลือเกิน ทุกคนในหมู่บ้านนี้ติดการพนันเป็นส่วนใหญ่ โดนผีสิงกันทั้งนั้น  พระธุดงค์เห็นญาติโยมมีสีหน้าลุกลี้ลุกรน เสมือนไม่อยากฟังต่อไป
              พระธุดงค์ จึงเอ่ยว่า "วันนี้ คงพอแค่นี้หละ"
              ชาวบ้าน พูดพร้อมกันว่า "สาธุ"
            • พระธุดงค์ ก็ให้ศีลให้พรเสร็จ แล้วก็ลาจากไปสู่ชายป่าที่พัก เก็บกลดเก็บบาตรออกเดินธุดงค์ต่อไป มิรอช้าจนมาถึงที่แห่งหนึ่งเหมาะแก่การบำเพ็ญภาวนา จึงนั่งพักผ่อนเอาแรงก่อนเพราะเดินมาหลายชั่วโมงแล้ว ท่านนั่งสมาธิ ความคิดเกิดขึ้นว่า "การบวชนี้ ช่างลำบากเหลือเกิน ต้องสละทุกสิ่งทุกอย่าง มีแต่บาตร กลด ผ้าสบง ผ้าจีวร ผ้าสังฆาฏิเท่านั้น เรามาลำบากอยู่คนเดียวทำไม พระรูปอื่นไม่เห็นจะลำบากเหมือนกับเรา" จิตของท่านถูกกิเลสปรุงแต่งจากการเหน็ดเหนื่อยในการเดินธุดงค์ กิเลสจะพยายามขัดขวางในการสร้างคุณงามความดี  จะทำให้ท้อเป็นบางครั้งบางคราว แต่ถ้าเรารู้ทันมันว่า "อ๋อ..นี่คือกิเลส"  จิตมันคิด ก็รู้ว่าจิตมัน ตามดูจิตในจิต ความฟุ้งซ่านต่างๆค่อยสงบระงับ จิตมีสมาธิเพิ่มมากขึ้น ความกระวนกระวายภายในใจก็ระงับ จิตเป็นเอกัคคตา
            • พอบ่ายคล้อยท่านออกจากสมาธิ และเดินมุ่งหน้าสู่หมู่บ้านถัดไปตามเส้นทางคดเคี้ยว บังเอิญมีรถวิ่งผ่านมา และจอดรถข้างถนน
              เจ้าของรถลงจากรถ พูดว่า "นิมนต์ครับ เดี๋ยวผมไปส่ง ท่านจะไปที่ไหนล่ะ"
              พระธุดงค์ พูดว่า "เจริญพร..ไม่เป็นไรหรอกโยม เพราะอาตมาอธิษฐานว่าจะไม่นั่งรถ ขณะที่เดินธุดงค์"
              โยม พูดว่า "อืม..ผม ก็อยู่หมู่บ้านถัดไป นี่แหละ มีอะไรจะให้ผมช่วย บอกได้ครับ"
              พระธุดงค์  พูดว่า "ขอบใจ โยม ขอให้เดินทางปลอดภัย"
              เจ้าของรถ เดินไปขึ้นรถ แล้วก็ขับจากไป ปกติแถวนี้นานๆจะมีรถผ่านสักคันหนึ่ง แต่ไม่มีใครจอดถาม ด้วยความอดทน และการมีสัจจะในตัวเอง ท่านไม่ย้อท้อเดินต่อไปเรื่อยๆ พอใกล้หมู่บ้าน มีโยมผู้ชายคนหนึ่งเดินสวนทางมา โยมคนนี้ ชอบคุยธรรมะกับพระสงฆ์ที่ผ่านมาย่านนี้เป็นประจำ เป็นคนธรรมะใฝ่ศึกษาคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนามามาก จึงรีบถามพระว่า "พระคุณเจ้าจะไปไหน ขอรับ"
              พระธุดงค์ ตอบว่า "อาตมา เดินธุดงค์ไปเรื่อยๆ ค่ำที่ไหน ก็นอนที่นั้น เหมือนนกขมิ้นอ่อน"
              โยม พูดว่า "พื้นที่ใกล้นาโยม เป็นป่าไม้ ร่มเย็น เหมาะสำหรับพระคุณเจ้าที่จะปักกลดเป็นอย่างยิ่ง"
              พระธุดงค์ พูดว่า "นาของโยม อยู่ตรงไหนล่ะ"
              โยม ชี้นิ้วไป พลางพูดว่า "โน่น..พระคุณเจ้า"
            • พระธุดงค์เดินไปตามที่โยมบอก พอไปถึงสถานที่นั้น เห็นพื้นที่ป่าไม้ร่มเย็นใกล้ลำธารด้วย เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนั่งเจริญกรรมฐาน และพื้นที่แห่งนี้ เคยมีพระธุดงค์เดินทางมาแวะพักบ่อย เพราะมีร่องรอยที่ปักกลด ท่านสำรวจพื้นที่แล้ว เริ่มปักกลดเพื่อป้องกันยุงและสัตว์เลื่อยคลานต่างๆ พอปักกลดเสร็จแล้ว นั่งภาวนาอยู่ภายในกลด มีเสียงดังแคร็กๆเหยียบใบไม้แห้งเป็นจั่งหวะ ท่านคิดว่า คงมีคนเดินมาแน่ สักครู่คนที่เดินมา หยุดตรงหน้ากลด แล้วนั่งลงกราบพระธุดงค์
              โยมเจ้าของนา  พูดขึ้นว่า "พระคุณเจ้า ขอรับ"
              "มีธุระอะไรหรือ" พระธุดงค์ ถาม
              "คือว่า ผมอยากสนทนาธรรมะกับพระคุณเจ้า ขอรับ" โยม ตอบ
              "โยมชื่ออะไรล่ะ" พระธุดงค์ ถาม
              "อ๋อ..ชื่อคำ ขอรับ" โยม ตอบด้วยเสียงใสชัดเจน
              "อยากรู้เรื่องอะไรหรือ" พระธุดงค์ พูด
              "เวลา ผมนั่งปฏิบัติกรรมฐาน มักจะเห็นนั่นเห็นนี่ จะมีวิธีแก้อย่างไร" โยมคำ พูด
              "ถ้าโยมนั่งนาน จิตเป็นสมาธิมาก จะมีนิมิตปรากฏให้เห็น บางคนปฏิบัติแล้ว เห็นพระพุทธรูปบ้าง ป่าไม้บ้าง เจดีย์วิหารบ้าง และอื่นๆอีกมากมาย ตามแต่สภาวธรรมที่เกิดขึ้น การแก้อารมณ์เหล่านี้ ก็ไม่ยาก ถ้าเราเห็นอะไร ก็กำหนดว่า "เห็นหนอๆ"ไปเรื่อยๆจนนิมิตที่เห็นไหนหายไป ถ้าจิตรู้ทันอารมณ์ปัจจุบัน ปัญญาจะทำให้รู้แจ้งเห็นจริง สามารถบรรลุมรรค ผล นิพพานได้" พระธุดงค์ พูดอธิบาย
              "โยมเคยปฏิบัติแล้วเห็นแสงสว่างเป็นดวงใหญ่ๆ ติดอยู่ในอารมณ์ตรงนี้ เพราะนั่งแล้วรู้สึกเพลินสบาย จะทำอย่างไรล่ะ พระคุณเจ้า" โยมคำ ถาม
              "การที่นั่งภาวนาไปเห็นแสงสว่างนั้น ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส กิเลสที่ละเอียดมากทำให้คนหลงติดนึกว่าตัวเองได้บรรลุมรรค ผล นิพพาน อันที่จริงยังไม่บรรลุอะไรหรอก เพียงแต่กิเลสเหล่านั้นมันหลอกเราเอง ถ้าจิตมันนิ่งมาก บางคนเหมือนตัวเองลอยได้ หรือตัวเบาเหมือนปุยนุ่น จะอย่างไรก็ตาม อย่าหลงกับมันมาก เพลินกับมันเกินไป ต้องมีสติอยู่ตลอดเวลา อย่าเผลอหลงไปกับกิเลสเหล่านี้ ต้องกำหนดรู้ตามความเป็นจริงที่มันเกิดดับด้วย" พระธุดงค์ พูด
              "พระคุณเจ้า เข้าใจธรรมได้อย่างลึกซึ้ง" โยมคำ พูดด้วยสีหน้าที่ยอมรับปัญญาของพระธุดงค์
              "ก็พอเข้าใจบ้าง เพราะอาตมาเคยปฏิบัติธรรมมาพอสมควร" พระธุดงค์ พูด
              "พระคุณเจ้า ต้องการอะไร บอกโยมได้นะขอรับ " โยมคำ พูด
            • เมื่อทั้งสองสนทนาธรรมกันพอสมควรแก่เวลา โยมคำกราบลากลับบ้าน ต่อจากนั้น พระธุดงค์ ลุกออกจากกลด ทำภารกิจส่วนตัวสรงน้ำที่ลำธาร พอเสร็จแล้ว ท่านเดินจงกรมไปมาอย่างมีสติสัมปชัญญะพร้อมทั้งสำรวมกาย สำรวมใจ อากัปกิริยาน่าเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่ง
              หลังจากเดินจงกรมไปมาอยู่นั้น ก็มีเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นในหมู่บ้าน ผีเข้าสิงผู้หญิงคนหนึ่ง ชาวบ้านแตกตื่น และทราบข่าวว่ามีพระมาปักกลดที่ราวป่า จึงพากันออกมาพื่อจะนิมนต์ท่านไปไล่ผี ชาวบ้านพอมาถึงที่พระธุดงค์ปักกลด มองซ้ายแลขวาเห็นท่านเดินจงกรมอยู่ รีบรุดเข้าไปหา แล้วเอ่ยปากว่า "ช่วยด้วย! พระคุณเจ้า"
              "มีเรื่องอะไรหรือ" พระธุดงค์ ถาม
              "ผีปอบเข้าคน" ชาวบ้าน พูดพร้อมกัน
              "จะให้อาตมา ช่วยอะไรล่ะ" พระธุดงค์ พูด
              "ก็นิมนต์ พระคุณเจ้าไปไล่ผีปอบ" ชาวบ้าน พูด
            • พระธุดงค์เดินมุ่งหน้าเข้าสู่หมู่บ้าน พร้อมกับชาวบ้านที่มานิมนต์ พอถึงบ้านที่ผีปอบเข้าสิง ท่านก็ท่องคาถา ทำน้ำมนต์ ครั้นทำน้ำมนต์เสร็จแล้ว รดน้ำมนต์ใส่คนที่ผีเข้าสิง ทันใดนั้นเอง วิญญาณผีร้ายก็ออกจากร่างด้วยอำนาจพระพุทธมนต์ โยมผู้หญิงคนนี้ ก็หายปกติ ชาวบ้านพากันศรัทธาเลื่อมใสพระธุดงค์รูปนี้ ด้วยความสามารถที่ไล่ผีปอบได้ ชื่อเสียงท่านดังขจรไปทั่ว พอคนรู้จักท่านมากขึ้น มีแต่คนแวะมาเยี่ยมถามข่าวเป็นประจำ บางคนมาหาของดีของขลังบ้าง บางคนมาเพื่อขอหวยบ้าง จนไม่มีเวลาปฏิบัติ ท่านคิดในใจว่า "เราอยู่ที่นี้นานไป คงไม่ดี คนรู้จักมาก เวลาปฏิบัติก็น้อยลง กิเลสจะหนาขึ้น" จึงตัดสินใจเดินทางต่อ โดยไม่บอกลาใคร ไปเงียบๆคนเดียว

บทที่ 7 เบญจศีล เพื่อชีวิตที่งดงาม

พระธุดงค์เดินทางคนเดียว วันแล้ววันเล่า คืนแล้วคืนเล่า ผ่านหลายสถานที่ เห็นหลายสิ่ง เจอหลายเรื่อง ประสบการณ์ชีวิตในการเดินธุงดงค์ครั้งนี้สุดคุ้มค่ากับความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า พอเดือนเมษายน อากาศร้อนอบอ้าวมาก การเดินทางก็เหนื่อยเร็ว ท่านคิดในใจมาตลอดว่าจะกลับไปหมู่บ้านหินงาม ซึ่งมีผู้ใหญ่โชติเป็นนายบ้าน สถานที่แห่งนี้อากาศดี น้ำใส ใจคนโอบอ้อมอารี เหมาะที่จะหลบลมร้อนสักระยะ ท่านเดินทางมาถึงหมู่บ้านแห่งนี้ เวลาค่ำ ชาวบ้านก็ไม่รู้ว่าท่านมา ท่านก็ไปปักกลดที่เดิมป่าช้าท้ายหมู่บ้าน เพราะบรรยากาศร่มรื่นด้วยแมกไม้นานาพันธุ์ ดอกพะยอมส่งกลิ่นหอมไปทั่วพื้นป่า ดอกไม้ต่างๆบานสะพรั่งสวยงามราวกับวิมานสวรรค์

ในค่ำคืนนั้น มีแสงไฟริบหรี่จากกุฏิกรรมฐานหลังเล็กๆ พระธุดงค์ คิดอยู่ในใจว่าคงมีพระมาอยู่ที่นี่ จึงเดินมุ่งหน้าสู่กุฏิหลังนั้น พอถึงกุฏินั้น มองเห็นพระรูปหนึ่งซึ่งมีอายุมากกำลังนั่งสมาธิอยู่ ท่านเดินเข้าไปใกล้ๆแล้วนั่งลงกราบ ด้วยความเคารพต่อผู้มีพรรษามากกว่าตน
พระหลวงปู่รูปนี้ ลืมตาขึ้น เอ่ยถามว่า "ท่าน มาจากไหน"
พระธุดงค์ ตอบว่า "กระผม เดินธุดงค์ ครั้งก่อนเคยมาพักที่นี่ ตอนนั้นไม่มีใครอยู่ เป็นวัดร้าง ผมจะเดินย้อนกลับไปที่กรุงเทพฯ จึงแวะมาพักที่นี่อีก"
หลวงปู่ พูดว่า "ผมเอง ก็เพิ่งมาอยู่ที่นี่ ไม่กี่เดือน ชาวบ้านนิมนต์ให้อยู่วัดป่าช้า ด้วยความสงสารญาติโยม ไม่มีที่พึ่งทางจิตใจ จึงตัดสินใจอยู่ที่นี่"
พระธุดงค์ พูดว่า "ดีแล้วครับ เป็นบุญของญาติโยมที่มีพระอยู่ เพราะเท่าที่ผมเดินธุดงค์ผ่านมาหลายที่เห็นวัดร้างไม่มีพระอยู่จำนวนมาก"
หลวงปู่ ถามว่า "ท่านบวชมานานหรือยัง"
พระธุดงค์ ตอบว่า "บวชพระเพิ่งได้ห้าพรรษาครับ แต่ก่อนเคยบวชเณรตั้งแต่จบป.6 จนกระทั้งบวชพระ"
หลวงปู่ ถามว่า "ท่านได้เรียนบาลีบ้างหรือเปล่า"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ได้เรียนครับ ผมรักการเรียนมาก ชอบเรียนหนังสือและชอบเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรม"
หลวงปู่ พูดว่า "พระอย่างท่านหาได้ยาก คงสอบบาลีผ่านหลายประโยคแล้ว"
พระธุดงค์  ตอบว่า "ได้แปดประโยคครับ"
หลวงปู่ พูดขึ้นว่า "ท่านอยู่ในศาสนาต่อไป คงจะได้เป็นเจ้าคุณพระผู้ใหญ่"
พระธุดงค์ พูดว่า "ผมไม่หวังตำแหน่งอะไร เป็นพระธรรมดาดีแล้วครับ"
หลวงปู่ ถามว่า "ท่านมหา ชื่ออะไร"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ผมชื่อธรรมทัตต์ ฉายา ธัมมทัตโต"
"หลวงปู่ ชื่ออะไร ครับ" พระธุดงค์ ย้อนถาม
"หลวงปู่ชื่ออุดร" หลวงปู่ ตอบเบาๆ
"ดูหลวงปู่ยังแข็งแรงดี" พระธุดงค์ พูด
"ท่านเป็นคนกรุงเทพฯโดยกำเนิดหรือเปล่า" หลวงปู่ ถาม
"ไม่ใช่คนกรุงเทพฯครับ เป็นคนอิสาน ผมบวชเป็นเณรแล้วเข้าไปเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯที่อยู่ปัจจุบันสังกัดวัดในกรุงเทพฯ" พระธุดงค์ ตอบ
"อ๋อ..หลวงปู่เอง เป็นคนภาคกลาง ชอบอยู่วัดป่า เงียบสงบดี" หลวงปู่ พูด
พระธุดงค์ เอ่ยถามว่า "ชาวบ้านเป็นอย่างไรบ้าง เข้าวัดกันบ้างหรือเปล่า"
หลวงปู่ ตอบว่า "ก็เริ่มดีขึ้น มีคนสนใจเข้าวัด มาฟังเทศน์เป็นประจำทุกวันพระเพิ่มขึ้น และทางวัดก็กำลังสร้างศาลาเอนกประสงค์ไว้สำหรับปฏิบัติธรรม ถ้าท่านมหาอยู่ช่วยกันพัฒนาคงจะดี"
พระธุดงค์ พูดว่า "ผมจะอยู่ช่วยหลวงปู่พัฒนาวัดสักระยะหนึ่งครับ ต่อจากนั้น จะเดินธุดงค์มุ่งสู่วัดในกรุงเทพฯเพื่อจำพรรษา และเรียนหนังสือต่อ นี่คือความตั้งใจของผมครับ"
หลวงปู่ พูดว่า "ท่านมหาอยู่ช่วยวัดนี้ จะกี่วันก็ตาม เป็นบุญของญาติโยมแล้วที่จะมีโอกาสมาทำบุญ ฟังเทศน์กับพระที่มีความรู้มีความเข้าใจในด้านปริยัติ และปฏิบัติ"
พระธุดงค์  พูดว่า "นี่คงจะดึกมากแล้ว พรุ่งนี้ค่อยคุยกันต่อ"
หลวงปู่ ถามว่า "ท่านมหา พักอยู่มุมไหนของวัดล่ะ"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ปักกลดอยู่มุมป่าช้าที่ติดกับฝายน้ำครับ"
หลวงปู่  พูดว่า "มุมนั้นก็ดี อากาศถ่ายเทดี"

พระธุดงค์ กราบหลวงปู่สามครั้งแล้วเดินจากไป มุ่งหน้าสู่ที่พักของตน พอถึงที่พักก็นั่งสมาธิจนได้เวลาแก่การพักผ่อน จึงคลายออกจากสมาธิและแผ่เมตตาต่อสรรพสัตว์ทั้งหลาย ครั้นเสร็จแล้ว ก็เปลี่ยนอิริยาบถเป็นนอนจนหลับไป จนกระทั่งตีสี่มีเสียงนกร้องดังก้องบริเวณ เสมือนเป็นนาฬิกาปลุกให้ตื่นจากการหลับไหล พอตื่นจากที่นอนท่านก็ลุกขึ้นออกจากกลดไปล้างหน้าแปรฟันที่ฝายน้ำ แล้วกลับมาที่พัก ต่อจากนั้นเดินจงกรม นั่งสมาธิปรับอิริยาบถยืนนั่งให้สมดุลกัน คือเท่ากัน จนรุ่งแจ้งแสงทองสาดส่องฟ้า ก็เดินสพายบาตรไปหาหลวงปู่เพื่อจะบิณฑบาตพร้อมกัน
หลวงปู่ ถามว่า "เป็นอย่างไรบ้าง หลับสบายดีหรือเปล่า"
พระธุดงค์ ตอบว่า "นอนหลับสบายดีครับ"
ได้เวลาบิณฑบาต พระทั้งสองรูปเดินออกจากวัดมุ่งสู่หมู่บ้านไปตามทางลูกรัง พอถึงหมู่บ้าน ชาวบ้านพากันตักบาตรมากหน้าหลายตา ชาวบ้านต่างดีใจที่เห็นพระธุดงค์รูปนี้กลับมาสู่หมู่บ้านนี้อีก
พอเวลาเย็น ดวงอาทิตย์คล้อยลอยต่ำ แสงแดดอ่อนๆ ชาวบ้านมาปรึกษาหารือกันที่วัด เตรียมจัดงานสงกรานต์ ซึ่งนำโดยผู้ใหญ่โชติและลุงสวนมัคคทายกวัด ต่างคนต่างแลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อพัฒนาวัดและหมู่บ้านให้มีความเจริญก้าวหน้า ซึ่งปีนี้มีคณะผ้าป่าจากกรุงเทพฯ จะมาทอดผ้าป่าที่วัดป่าแห่งนี้ เพื่อสมทบทุนสร้างศาลาและที่พักสงฆ์
ผู้ใหญ่โชติ พูดว่า "พวกเราจะเตรียมการอย่างไรดี จะจ้างอะไรมาฉลองหรือเปล่า"
ตัวแทนวัยรุ่นคนหนึ่ง พูดว่า "ต้องจ้างวงดนตรีซิ มันส์ดี"
"ถ้าจ้างวงดนตรีมาฉลอง เดี๋ยวก็ชกต่อยตีกัน" ลุงสวน พูดขึ้น
"ถ้าไม่จ้างวงดนตรี ก็จ้างหนังมาฉลองดีไหม" ผู้ใหญ่โชติ พูด
"มันจะดีเหรอ ลุงผู้ใหญ่" ตัวแทนวัยรุ่น พูดเสียงดัง
"เอาอย่างนี้ เพื่อให้เงินหมุนเวียนในหมู่บ้าน เอาคณะนักเรียนบ้านเราแสดงดีกว่า ใครอยากขึ้นร้องเพลงบนเวทีก็ได้" ผู้ใหญ่โชติ พูด
"เออ..ก็ดีเหมือนกัน" ชาวบ้าน พูด
"กลุ่มวัยรุ่น พอใจหรือเปล่า" ผู้ใหญ่โชติ ถาม
"พอรับได้ เพราะเสียงส่วนใหญ่เห็นอย่างนั้น" ตัวแทนวัยรุ่น พูดด้วยสีหน้าไม่เต็มใจ
"การแสดงของนักเรียนลูกหลาน จะแสดงที่ไหน วัดหรือโรงเรียนล่ะ" ผู้ใหญ่โชติ ถาม
"โรงเรียน น่าจะเหมาะกว่า" ลุงสวนมัคคทายก พูด
"ชาวบ้าน จะว่าอย่างไร" ผู้ใหญ่โชติ ถาม
"โรงเรียนเหมาะอย่างยิ่ง เพราะวัดเป็นสถานที่สงบ" ชาวบ้าน พูด
พอเสร็จการประชุม ผู้ใหญ่โชติกับลุงสวน ก็แวะเข้าไปหาพระธุดงค์ ถามสุขทุกข์ และบอกความประสงค์ว่า พวกผมและชาวบ้านจะสร้างกุฏิกรรมฐานให้ท่านอยู่
พระธุดงค์ พูดว่า "สร้างกุฏิกรรมฐานไว้ก็ดี เพื่อมีพระสงฆ์แวะมาพัก และการสร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยถวายพระที่จรมาจากทิศทั้งสี่ มีอานิสงส์ที่ยิ่งใหญ่"
ผู้ใหญ่โชติ พูดว่า "สร้างไม่กี่วัน ก็คงเสร็จ ใช้เงินไม่มาก อาศัยกำลังแรงกายของชาวบ้าน ไม่ต้องจ้างช่างให้เสียตังค์"
พระธุดงค์ พูดว่า "เออ..ก็ดี จะมีส่วนแห่งบุญร่วมกัน"
หกโมงเย็น เสียงระฆังดังแหง่งหงางได้เวลาทำวัตรสวดมนต์เย็น  พระธุดงค์ชักชวนผู้ใหญ่โชติ กับลุงสวนไปสวดมนต์ที่ศาลา พอสวดมนต์ไหว้พระเสร็จ ก็นั่งสนทนาธรรมกันมีหลวงปู่เป็นประธาน
หลวงปู่ เอ่ยพูดว่า "ถ้าเป็นไปได้ อย่างให้ญาติโยมพาลูกพาหลานมาสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ เพื่อฝึกฝนอบรมกายวาจาใจตั้งแต่เด็ก ให้ซึมซับในการทำความดี ทำจิตให้สงบด้วย"
ผู้ใหญ่โชติ พูดว่า "เดี๋ยวผมจะป่าวประกาศให้ชาวบ้านรับทราบในเรื่องนี้ ครับ"
หลวงปู่ พูดว่า "เรื่องอบรมเยาวชนลูกหลาน ก็มอบหน้าที่ให้พระธรรมทัตต์"
ลุงสวน พูดว่า "หมู่บ้านเรา คงจะดีขึ้น เพราะบ้านกับวัดช่วยกัน"

หลวงปู่ก็หวังอย่างนั้น โชคดีที่วัดเรามีพระหนุ่มเป็นมหาด้วยมาช่วยงานในการเผยแผ่ธรรมะสู่ชาวบ้าน คงจะทำให้หมู่บ้านเราเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง เป็นสถานที่น่าอยู่ ศีลธรรมกลับมาสู่หมู่บ้านเมื่อไหร่ นั่นแหละแสงทองแห่งชีวิตของมวลมนุษยชาติ
ต่อมาผู้ใหญ่โชติกับลุงสวน ก็กราบลาพระทั้งสองรูปกลับบ้าน พอไปถึงบ้านเท่านั่นแหละ
ธัมมิกา ผู้เป็นภรรยา ก็ถามทันทีว่า "ไปไหนมา กลับบ้านดึกจัง"
ผู้ใหญ่โชติ ตอบว่า "มัวแต่คุยกับหลวงปู่กับพระธุดงค์ที่วัด"
ธัมมิกา ถามว่า "คุยเรื่องอะไรกันล่ะ"
ผู้ใหญ่โชติ ตอบว่า "หลายเรื่อง สร้างกุฏิกรรมฐานบ้าง การอบรมศีลธรรมให้กับลูกหลานบ้าง"
ธัมมิกา พูดว่า "วัดบ้านเรา คงจะดีขึ้น เพราะมีพระมาอยู่ประจำ"
ผู้ใหญ่โชติ พูดว่า "ไม่รู้ซิ วันไหนว่างๆก็ไปถวายอาหารพระบ้าง หรือพาลูกไปสวดมนต์บ้าง"
ธัมมิกา พูดว่า "จะพยายามทำบุญใส่บาตรทุกวัน และจะไปสวดมนต์ไหว้พระเป็นประจำ"
ผู้ใหญ่โชติ พูดว่า "เออ..ช่วงนี้ก็ปิดเทอม ลูกๆคงว่าง ชวนไปวัดบ้าง"
ธัมมิกา พูดเบาๆว่า "ลูกก็โตแล้ว จะไปบังคับคงไม่ได้หรอก"

เมื่องสองสามีภรรยานอนคุยกันไปเรื่อยๆจนเข้าสู่ห้วงนิทรา พอรุ่งเช้า ผู้ใหญ่บ้านประกาศที่หอกระจายข่าวหมู่บ้าน เสียงดังชัดเจน ว่า "พ่อแม่พี่น้องครับ..วันนี้ใครไม่ติดธุระอะไร ขอเชิญออกไปช่วยกันสร้างกุฏิที่วัด วัดจะเจริญได้ต้องอาศัยกำลังกายทุกคนช่วยกันพัฒนาช่วยกันสร้างสรรค์.." เมื่อสิ้นเสียงจากการประกาศแจ้งข่าวงานบุญของผู้ใหญ่โชติแล้ว ทุกคนในหมู่บ้านและหนุ่มๆสาวๆมุ่งหน้าไปที่วัด เมื่อมาถึงวัดก็นั่งพูดคุยกัน วางแผนในการสร้างกุฏิ ซึ่งมีหัวหน้าช่างเป็นคนแนะนำว่าจะทำอะไรก่อน แบ่งงานกันเป็นกลุ่มๆ บางกลุ่มปรับพื้นที่ บางกลุ่มเลื่อยไม้ บางกลุ่มก็ทำความสะอาดวัด บางกลุ่มก็จัดเตรียมอาหารไว้เลี้ยงคนมาช่วยงาน
วัดวาอารามอึกทึกไปด้วยเสียงต่างๆ บรรดาญาติโยมมากหน้าหลายตาต่างก็มีศรัทธา ร่วมกันบริจาคทรัพย์สินเงินทองเพื่อสมทบทุนสร้างกุฏิและห้องน้ำ หลวงปู่กับคณะกรรมการเหรัญญิกดูแลด้านการเงิน ส่วนพระธุดงค์ท่านยังหนุ่มอยู่ ก็สร้างกุฏิกรรมฐานและห้องน้ำร่วมกับคณะญาติโยมเพื่อเป็นขวัญเป็นกำลังใจ สร้างไม่กี่วันก็แล้วเสร็จ ครั้นเสร็จแล้ว ก็ทำพิธีถวายกุฏิกรรมฐานแด่พระสงฆ์ หลวงปู่พร้อมกับชาวบ้าน พิจารณาให้พระธุดงค์ไปอยู่อาศัย

เมื่อพระธุดงค์รูปนี้มาอยู่วัด ทำให้วัดแห่งนี้มีชีวิตชีวาขึ้นมา ญาติโยมก็เข้าวัดเและสนใจศึกษาธรรมะและปฏิบัติธรรมเพิ่มมากขึ้น บ่งบอกได้ว่าแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง กำลังจะเกิดขึ้น ณ หมู่บ้านหินงาม
อยู่มาวันหนึ่ง ธัมมิกากับลูกสาว นำอาหารและของใช้สำหรับพระมาถวายพระธุดงค์ เมื่อถวายเสร็จแล้ว พระธุดงค์ก็พูดธรรมะให้ฟังและชักชวนให้ปฏิบัติธรรม เพราะธรรมะของพุทธเจ้าไม่จำกัดกาลเวลา และให้ทุกคนมาพิสูจน์เอาเอง
พิมพ์ปภัทร์ ซึ่งกำลังเป็นสาว หน้าตาสวย นั่งฟังอยู่นาน ถามว่า "ธรรมะของพระพุทธเจ้า จะแก้ปัญหาวัยรุ่นทะเลาะกันตีกันได้ไหม เจ้าค่ะ"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ได้ซิ เพราะธรรมะนี้ อยู่กับคนใด คนนั้นก็มีความสุข อยู่กับสังคมใด สังคมนั้น ก็มีความสุข ร่มเย็น ปัญหาวัยรุ่นทะเลาะกันฆ่ากัน มีให้เห็นทั่วไป ผ่านทางโทรทัศน์บ้าง สื่อพิมพ์ต่างๆบ้าง เนื่องมาจากความคึกคะนองตามสไตล์วัยรุ่นบ้าง ส่วนหนึ่งปัญหามาจากการดื่มสุราเมรัยหรือเสพของมึนเมาต่างๆจนขาดสติ ควบคุมตัวเองไม่ได้  นำไปสู่การวิวาททะเลาะกัน ตีกัน ฆ่ากัน แสดงให้เห็นว่าคนเหล่านี้ ไม่มีธรรมอยู่ในใจ ขาดเมตตาธรรมต่อกัน"
"พวกนักเรียน ยกพวกตีกัน จะแก้อย่างไร เจ้าค่ะ" พิมพ์ปภัทร์ ถาม
"ปัญหานักเรียนยกพวกตีกัน สาเหตุหลักมาจากขาดคุณธรรมและศีลธรรม วัยรุ่นมักใช้อารมณ์แก้ปัญหา ชอบใช้ความรุนแรง สถาบันการศึกษานั้น เป็นอริศัตรูกับสถาบันนี้ รุ่นน้องเข้าศึกษาใหม่ รุ่นพี่ก็เสี้ยมสอนในทางที่ผิด สอนให้มีอคติต่อสถาบันการศึกษานี้ จนสร้างปัญหาระยะยาว แม้แต่หน่วยงานรัฐ จะพยายามแก้ไขปัญหา ก็ยังแก้ไม่ได้ ดังนั้นต้องมีศูนย์อบรมคุณธรรมศีลธรรมให้กับกลุ่มคนเหล่านี้ ฝึกจิตใจให้เป็นคนดีมีเมตตาปราถนาดีต่อกัน รักใคร่กัน ถึงแม้จะยาก แต่ถ้าขัดเกลาจิตบ่อยๆ จากจิตกระด้าง โหดเหี้ยม มีความโกรธเป็นอารมณ์ จะกลายเป็นคนมีจิตอ่อนโยน เยือกเย็น โอบอ้อมอารีต่อเพื่อนมนุษย์ได้" พระธุดงค์ ตอบด้วยสีหน้าเอาจริงเอาจัง
"พระคุณเจ้า ขาดสิ่งใด ขอให้บอกโยมนะเจ้าคะ" ธัมมิกา พูดแทรก

ต่อจากนั้น พระธุดงค์สนิทคุ้นเคยกับครอบครัวธัมมิกา จนกลายเป็นโยมอุปฐาก เมื่อพระหนุ่มเจอหน้าหญิงสาวพิมพ์ปภัทร์บ่อยๆ ทำให้มีความผูกพัน จิตเริ่มกระวนกระวาย ไม่ค่อยมีสมาธิ ครั้นเมื่ออิฏฐารมณ์เกิด จิตก็คิดปรุงแต่งทันที เมื่อกามารมณ์มาครอบงำจิตเสียแล้ว ทำให้ความฟุ้งซ่านเกิดขึ้นในใจ จิตก็หลงไปในกามารมณ์เหล่านี้
วันที่รอคอยก็มาถึง สิบสามเมษายน ทุกคนต่างดีใจ ใส่เสื้อผ้าสีสันงามตาไว้ต้อนรับคณะผ้าป่าจากกรุงเทพฯทุกคนสาดน้ำใส่กันอย่างสนุกสนาน และวันนี้มีการประกวดเทพีสงกรานต์ด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้น มีพิมพ์ปภัทร์ที่ลงประกวดเทพีสงกรานต์ คนจำนวนมากรอเชียร์ ลุ้นกันอย่างสนุกสนาน ผลการตัดสินของคณะกรรมการปรากฏว่า พิมพ์ปภัทร์ได้ที่หนึ่ง ชนะเลิศการประกวดเทพีสงกรานต์เป็นสาวงามประจำตำบล
อุณภูมิความร้อน ทำให้ทุกคนไม่ว่าจะเด็กหรือหนุ่มสาวต่างก็วิ่งไล่สาดน้ำไส่กันอย่างสนุก เพื่อดับความร้อนลงได้บ้าง พอได้เวลาสรงน้ำพระ รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุ ทุกคนก็มารวมตัวกันที่วัด สร้างบรรยากาศคึกคักทันที ทุกคนเข้าแถวสรงน้ำพระพุทธรูป ตามด้วยสรงน้ำพระสงฆ์ และผู้สูงอายุตามลำดับ

ครั้นเวลาเย็น แดดร่มลมตก วัดก็เงียบลง แต่เสียงเพลงดนตรีดังมาจากโรงเรียนซึ่งเป็นการแสดงของนักเรียนและกลุ่มเยาวชน แต่พระธุดงค์ท่านเดินจงกรม นั่งสมาธิตามหน้าที่ของหน่อเนื้อศากยบุตร แม้ความคิดจะออกไปสู่อารมณ์ภายนอกก็ตาม ท่านก็พยายามตามดูอารมณ์ที่จิตคิด เมื่อคิดก็รู้ว่าคิด แต่บางครั้งก็เผลอสติไปบ้าง
ในคืนนั้น ท่านนั่งคิดอยู่คนเดียวภายในกุฏิกรรมฐานที่สร้างเสร็จใหม่ๆว่า "นี่แหละหนอ พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสแก่พระอานนท์เกี่ยวกับการปฏิบัติกับสตรีไว้ การไม่เห็นเสียเลยเป็นการดี เมื่อจำเป็นต้องเห็น ก็อย่าพูด ถ้าจำเป็นต้องพูด ก็ต้องพูดอย่างสำรวม มีสติ"
รุ่งแจ้งวันใหม่ พิมพ์ปภัทร์เข้ามาที่วัด ถือปิ่นโตอาหารมาถวายพระธุดงค์ เสียงเรียกว่า "หลวงพี่ค่ะ แม่บอกให้นำอาหารมาถวาย" แค่เสียงของหญิงมันทะลุถึงหัวใจ จับใจพระธุดงค์หนุ่ม เสียงอะไรก็ไม่จับใจเท่าเสียงสตรีเพศสำหรับบุรุษ
พระธุดงค์กำหนดจิต ถามว่า "แม่ ไม่มาหรือ"
พิมพ์ปภัทร์ ตอบว่า "ไม่มา เจ้าค่ะ"
พระธุดงค์ ถามว่า "เธอสุขสบายดีหรือ"
พิมพ์ปภัทร์ ตอบว่า "ค่ะ สบายดี"
พระธุดงค์ ถามว่า "วานนี้ ประกวดเทพพสงกรานต์ได้รางวัลหรือเปล่า"
พิมพ์ปภัทร์ ตอบว่า "แหม.. หนูออกดูสวย ต้องได้ซิค่ะ"
พระธุดงค์ ถามว่า "ได้รางวัลไหนเหรอ"
พิมพ์ปภัทร์ พูดด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า "ลองทาย ดูซิว่าพิมพ์ได้รางวัลอะไร"
พระธุดงค์ พูดว่า "คงจะได้รางวัลที่หนึ่ง"
พิมพ์ภัทร์ พูดว่า "เดาถูก เจ้าค่ะ"
พระธุดงค์ ถามว่า "อนาคต อยากจะเป็นอะไร"
พิมพ์ปภัทร์ ตอบว่า "อยากจะเป็นครูสอนนักเรียน"
พระธุดงค์  พูดว่า "เออ เป็นครูก็ดีนะ สอนคนให้ฉลาด เป็นคนดีคนเก่งของสังคม"
พิมพ์ปภัทร์ ย้อนถามว่า "อนาคต หลวงพี่อยากจะเป็นอะไร"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ไม่ได้หวังว่าจะเป็นอะไร แต่หวังลึกๆอยากปฏิบัติธรรมให้ถึงที่สุด คือมรรค ผล นิพพาน"
พิมพ์ปภัทร์ พูดว่า "หลวงพี่ ไม่หวังสึกออกมาเลยเหรอ"
พระธุดงค์ ตอบทันทีว่า "ยังไม่คิด"
เมื่อทั้งสองคุยกัน หลวงปู่เดินผ่านมาที่กุฏิจึงเรียกพระธุดงค์ให้ไปช่วยทำงานที่กุฏิท่าน พิมพ์ปภัทร์ จึงขอตัวกลับบ้าน พอพระธุดงค์มาถึงกุฏิหลวงปู่
หลวงปู่ พูดว่า "นั่งคุยกับหญิงสองต่อสอง ไม่เหมาะนะ ท่านมหา"
พระธุดงค์ พูดว่า "ครับหลวงปู่ ผมจะพยายามหลีกเลี่ยง ระวังมากกว่านี้"
หลวงปู่ พูดว่า "เราเป็นพระต้องระวังอย่าผิดวินัย มันจะทำให้ศีลขาด ทะลุได้ พรุ่งนี้วันพระท่านเทศน์แทนผมด้วย"
พระธุดงค์ พูดว่า "ได้ครับ"
พอวันพระมาถึง พระธุดงค์นุ่งสบงทรงจีวรอย่างเป็นระเบียบเรียบร้อย ชาวบ้านก็มาทำบุญกันจำนวนมาก รวมถึงครอบครัวธัมมิกากับลูกสาวก็ถืออาหารมาถวายพระอย่างเช่นที่เคยปฏิบัติมา ได้เวลาเทศน์ พระธุดงค์พูดเกริ่นนำด้วยเบญจศีล เบญจธรรม และกล่าวเจาะลงไปทีละข้อๆเพื่อให้ญาติโยมเข้าใจ

เบญจศีล หรือศีล 5 คือ
ข้อหนึ่ง เว้นจากฆ่าสัตว์ เบียดเบียนสัตว์
ข้อสอง เว้นจากถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ให้,เว้นจากลัก โกง ละเมิดกรรมสิทธิ์
ข้อสาม เว้นจากประพฤติผิดในกาม
ข้อสี่ เว้นจากพูดเท็จ โกหก หลอกลวง
ข้อห้า เว้นจากสุรเมรัยและของมึนเมาอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท

ส่วนเบญจธรรม หรือ ธรรม 5 อย่างคือ
ข้อหนึ่ง เมตตากรุณา ความรักใคร่ปรารถนาให้มีความสุขและสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์
ข้อสอง สัมมาอาชีวะ การหาเลี้ยงชีพในทางสุจริต
ข้อสาม กามสังวร ความสังวรในกาม ยับยั้งจิตมิให้หลงใหลในกามคุณ 5 คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส
ข้อสี่ สัจจะ ความซื่อสัตย์ จริงใจ
ข้อห้า สติสัมปชัญญะ ระลึกได้และรู้ตัวอยู่เสมอ
ธรรม 5 ข้อนี้ คู่กับศีล 5 เป็นธรรมเกื้อกูลแก่การักษาเบญจศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์ ถ้ามีเบญจธรรมในจิตใจแล้ว การรักษาเบญจศีลก็จะง่าย ชีวิตจะงดงามและสดใสเพราะมีศีล หมู่บ้านใด มีเบญจศีลเบญจธรรม หมู่บ้านนั้นจะกลายเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง นำความสันติสุขคืนสู่สังคมอย่างยั่งยืนตลอดไป
เมื่อพระเทศน์เสร็จ ญาติโยมก็เปล่งคำว่า "สาธุ" พร้อมกัน ชาวบ้านกรวดน้ำรับพรเสร็จ ก็แยกย้ายกันกลับเรือนของตนโดยสวัสดี

บทที่ 8 ฤกษ์ดี ยามดี

วันคืนผ่านไป พระธุดงค์ก็ทำหน้าที่สั่งสอนชาวบ้านให้เป็นคนดีของแผ่นดิน เราเกิดบนแผ่นดินไทย ต้องรักษ์แผ่นดินบ้านเกิดเมืองนอน ช่วยกันพัฒนาให้เจริญก้าวหน้า อย่าแตกสามัคคีกัน จนหมู่บ้านแห่งนี้ เริ่มเป็นหมู่บ้านแผ่นดินธรรม ชาวบ้านใฝ่ธรรม สนใจในศีลในธรรมมากยิ่งขึ้น ตอนบ่าย อากาศร้อนอบอ้าว พระธุดงค์ นั่งอยู่ริ่มฝั่งแม่น้ำใต้ร่มไม้ใหญ่ พิจารณาระลอกคลื่นที่มากระทบฝั่งเบาๆ ด้วยสายลมที่พัดผิวน้ำแผ่วเบา ระลอกแล้วระลอกเล่า จึงเข้าใจสัจธรรมของชีวิต เมื่อมีเกิด ก็ต้องมีดับ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี ครั้นนั่งพิจารณาไปเรื่อยๆ จิตใจสงบ จนอาทิตย์ลอยคล้อยลงต่ำ สายลมพัดใบไม้ นกบนต้นไม้ใหญ่ส่งเสียงร้องดัง จนจิตของพระธุดงค์คลายออกจากสมาธิ
ทันใดนั้น เสียงเรียกของหลวงปู่ดังขึ้นว่า "ท่านมหา"
"มีอะไรครับ หลวงปู่" พระธุดงค์ ถาม
"มีโยมมานิมนต์ไปเจริญพุทธมนต์ที่บ้าน" หลวงปู่ ตอบ
"งานอะไรครับ หลวงปู่" พระธุดงค์ ถาม
"งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่" หลวงปู่ ตอบ

เมื่อเวลาใกล้ค่ำ หลวงปู่กับพระธุดงค์เดินเข้าไปสู่หมู่บ้าน พอถึงบ้านเจ้าของบ้านก็นิมนต์เข้าไปในบ้าน แล้วพระทั้งสองรูปก็นั่งบนอาสนะที่จัดเตรียมไว้ เจ้าของบ้านและแขกผู้มาร่วมงานนั่งเรียบร้อยไหว้พระและอาราธนาศีล หลวงปู่ให้ศีล ครั้นชาวบ้านรับศีลเสร็จแล้ว ก็อาราธนาพระปริตรต่อ หลวงปู่กับพระธุดงค์ก็เจริญพุทธมนต์บทต่างๆเพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อยู่อาศัย

ครั้นเสร็จพิธีทางศาสนาแล้ว หลวงปู่กับพระธุดงค์ก็เดินกลับวัดท่ามกลางความมืดมิด มีเพียงไฟฉายที่ส่องนำทางให้สว่าง เมื่อถึงวัดก็แยกกันไปกุฏิของตน พอรุ่งเช้าโยมก็มานิมนต์ไปฉันอาหารเช้าที่บ้าน พอฉันอาหารเสร็จ หลวงปู่ถือโอกาสพูดธรรมะให้ญาติโยมฟัง เรื่องฤกษ์ดี ยามดี อยู่ที่การกระทำ  ถ้าเราทำดี วันไหนเวลาไหนก็เป็นมงคล ถ้าทำชั่ว วันไหน เวลาไหนก็เป็นอมงคล มิใช่ว่าวันนั้นเดือนนี้เป็นมงคลตามหลักโหราศาสตร์หรือหมอดูทำนาย ตามหลักพุทธศาสนากระทำเป็นตัวบ่งชี้ว่าเป็นมงคลหรืออมงคล พูดดี ทำดี คิดดี สุดยอดมงคล ชีวิตจะพบแต่สิ่งดีงาม การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราพร้อมเมื่อไหร่ ก็ทำเมื่อนั้น ไม่จำเป็นต้องเลือกวันเดือนปี เพราะเป็นการทำสิ่งดีงามให้กับตัวเองอยู่แล้ว
โยมคนหนึ่ง ถามว่า "ทำไม พระสงฆ์ ชอบดูดวงชะตาราศี ฤกษ์ ยาม"
หลวงปู่ ตอบว่า "พระบางรูป ชอบดูดวง เพื่อให้โยมคลายทุกข์บ้าง ส่วนใหญ่ท่านก็แนะนำให้ทำบุญสร้างกุศลเท่านั้น แต่มีบางรูปหวังลาภสักการะทรัพย์สินเงินทอง"
โยม ถามว่า "ในคัมภีร์ศาสนา พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้เป็นเดรัจฉานวิชา มิใช่หรือ"
หลวงปู่ ตอบว่า "ใช่ เพราะการเป็นหมอดู ไม่ใช่ทางแห่งการบรรลุ มรรค ผล นิพพาน และไม่เหมาะสำหรับพระภิกษุ"
โยม ถามว่า "เมื่อไม่เหมาะสมกับพระภิกษุแล้ว ทำไมจึงปล่อยกันอย่างนี้ พระผู้ใหญ่ไม่ห้ามเหรอ"
หลวงปู่ ตอบว่า "เรื่องนี้พูดยาก แม้แต่พระผู้หลักผู้ใหญ่ในการบริหารคณะสงฆ์บางท่าน ก็เป็นหมอดูซะเอง"
โยม ถามว่า "อ้าว..แล้วจะแก้ไขกันอย่างไร"
หลวงปู่ ตอบว่า "เรื่องนี้ เป็นหน้าที่ของมหาเถรสมาคมจะออกกฎ ระเบียบ ข้อห้ามเกี่ยวกับเรื่องนี้ลำพังแต่พูดคงจะยาก อุปัชฌาย์บางรูปยังดูฤกบ์บวช ฤกษ์สึกเลย"
โยม พูดถอดใจว่า "อืม..นี่แสดงว่าพุทธศาสนาใกล้จะเสื่อม"
หลวงปู่ พูดว่า "ไม่ถึงขนานนั้นหรอก ส่วนใหญ่ก็มาจากโยมนี่แหละ อยากจะให้พระดูดวงชะตาชีวิต พระจึงดูดวงตามใจโยมก็มี"
โยม ถามว่า "พระพุทธเจ้าตรัสเกี่ยวกับกฤษ์ยามไว้อย่างไร"
หลวงปู่ ตอบว่า "ในคัมภีร์พระไตรปิฏก พุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเช้า เวลาเช้าก็เป็นเช้าที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเที่ยง เวลาเที่ยงก็เป็นเที่ยงที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์เหล่าใดประพฤติสุจริตด้วยกาย วาจา ใจ ในเวลาเย็น เวลาเย็นก็เป็นเย็นที่ดีของสัตว์เหล่านั้น สัตว์ทั้งหลายประพฤติชอบในเวลาใด เวลานั้นชื่อว่าเป็นฤกษ์ดี มงคลดี สว่างดี รุ่งดี ขณะดี ยามดีและบูชาดี..."
โยม พูดว่า "ถ้าอย่างนั้น ไม่จำเป็นต้องพึ่งหมอดูให้ฤกษ์ให้ก็ได้ ประพฤติสุจริตทางกาย วาจา ใจ เวลาใด เวลานั้นแหละฤกษ์ดียามดี"
หลวงปู่ พูดว่า "ถูกต้อง หมอดูจะพูดเพื่อให้กำลังใจ เสริมกำลังใจ คลายความวิตกกังวล พูดให้มีความเชื่อมั่น ถ้าเรามีความเชื่อมั่น สิ่งที่หวังก็สำเร็จได้ เพราะการกระทำต่างหาก"
"ใช่ครับ หลวงปู่" โยม พูดด้วยสีหน้าแจ่มใส
"เอาละ วันนี้  เอาแค่นี้ก่อน ถ้าโยมต้องการรู้ธรรมะมากกว่านี้ ก็ไปสนทนาธรรมกันที่วัด" หลวงปู่ พูดชักชวน
"ถ้าผมมีเวลาว่าง ผมจะแวะไปพูดคุยด้วย ครับ" โยม พูดขึ้น
สักครู่หนึ่ง หลวงปู่และพระธุดงค์ ก็เดินจากบ้านหลังนี้ไป
ในระหว่างทางที่เดินไปสู่วัดนั้น  มีโยมคนหนึ่งเดินทางสวนมา เอ่ยถาม " หลวงปู่ มีวัตถุมงคล ของขลังหรือเปล่า"
หลวงปู่ ตอบทันทีว่า "มี ที่กุฏิ"
"ผมขอสักองค์ได้หรือเปล่า ครับ" โยม ถาม
"ได้" หลวงปู ตอบ

ทันใดนั่นเอง โยมคนนี้ ก็เดินตามพระไปถึงที่วัด  แต่ละรูปก็แยกทางไปกุฏิของตัวเอง เมื่อหลวงปู่เดินไปกุฏิ โยมเดินติดตามทุกฝีก้าว ด้วยความคิดในใจว่า "วันนี้ คงได้พระเครื่องดีๆแน่"
พอถึงกุฏิ หลวงปู่เข้าไปในห้อง หยิบเอาพระพุทธรูปเล็กๆองค์หนึ่งแล้วเดินออกจากห้อง เอ่ยพูดขึ้นว่า "นี่แหละ วัตถุมงคลที่ดีที่สุด ของหลวงปู่"
โยม พูดว่า "พระเครื่องดังๆที่เซียนพระชอบสะสม ไม่มีหรือ?"
หลวงปู่ ตอบว่า "พระเครื่องดังๆ ราคาแพง หลวงปู่ไม่มีหรอก"
โยม พูดเบาๆว่า "ไม่มี ก้อไม่เป็นไร ครับ"
หลวงปู่ พูดว่า " พุทธรูปองค์นี้ โยมต้องบูชา กราบไหว้เป็นประจำ เพื่อชีวิตจะได้เจริญรุ่งเรือง"
โยม เอ่ยถามว่า "ได้ยินข่าวว่าพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ที่นั่นที่นี่ เวลาคนขอพรแล้วสำเร็จตามที่มุ่งมาดปรารถนา  หลวงปู่เชื่อหรือไม่?"
หลวงปู่ ตอบว่า " พระพุทธรูปจะศักดิ์สิทธิ์หรือไม่ศักดิ์สิทธิ์นั้น ขึ้นอยู่กับความเชื่อมั่น ความเคารพ และศรัทธา  บางคนอธิษฐานแล้ว สำเร็จตามแรงอธิษฐานก็มี  ไม่สำเร็จตามอธิษฐานก็มี พระพุทธรูปบางองค์ที่ว่าศักดิ์สิทธิ์ อาจจะมีเทวดาสิงสถิตอยู่ก็มี บางครั้งเทวดาอาจดลบันดาลให้สำเร็จได้ ด้วยอำนาจฤทธิ์"
โยม พูดว่า "ถ้าอย่างนั้น  ผมจะนำพุทธรูปองค์นี้ ไปสักการะบูชา ที่บ้าน เพื่อเป็นสิริมงคล ขอรับ"
หลวงปู่  พูดว่า "เออ..ดีแล้ว"
ต่อมา โยมได้กราบลาหลวงปู่กลับบ้าน  สักพักหนึ่ง พระธุดงค์ ก็เดินมาที่กุฏิหลวงปู่ เพื่อจะมากราบลาหลวงปู่เดินธุดงค์ต่อไป
หลวงปู่ เอ่ยถามทันทีว่า "ท่าน เตรียมตัวจะไปไหนหรือ"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ผมจะเดินธุดงค์ต่อ ตามที่ผมตั้งใจไว้ ครับ"
หลวงปู่  ถามว่า "ทำไม ท่านไม่อยู่ที่นี้ล่ะ"
พระธุดงค์ ตอบทันทีว่า "ผมตั้งใจไว้แล้ว ตั้งแต่พักที่นี้"
หลวงปู่ ถามว่า "ท่านบอกลาญาติโยมหรือยัง"
พระธุดงค์ ตอบว่า "ยัง ครับ"
หลวงปู่ พูดด้วยจิตที่ประกอบด้วยเมตตา ว่า "ถ้าอย่างนั้น ท่านก็รอบอกลาญาติโยมก่อน พรุ่งนี้ ค่อยออกเดินธุดงค์"
พระธุดงค์ ไม่อาจปฏิเสธได้  จึงพูดไปว่า " ครับ หลวงปู่"
พอรุ่งเช้า พระธุดงค์ก็ได้บอกลาญาติโยมที่มาทำบุญถวายอาหารเช้า ที่ศาลากลางป่า ซึ่งร่มรื่นด้วยแมกไม้ต้นใหญ่ต้นเล็กสลับกันไป
ญาติโยม ถามว่า "ทำไม พระคุณเจ้า จึงไม่อยู่ที่นี้ พัฒนาวัดช่วยหลวงปู่ เจ้าค่ะ"
พระธุดงค์ ตอบว่า "อาตมา ตั้งใจตั้งแต่แรกแล้วว่าจะพักที่นี้ชั่วคราว"
ญาติโยม พูดว่า "ถ้าอย่างนั้น ก็แล้วแต่พระคุณเจ้า ถ้ามีเวลาก็นิมนต์แวะมาเยี่ยมที่นี้บ้าง"
พระธุดงค์ พูดว่า "ถ้ามีโอกาสผ่านมาทางนี้อีก ก็จะแวะมาเยี่ยม เพราะอาตมาก็อาศัยข้าวปลาอาหารจากญาติโยมที่นี้ ดำรงชีวิตอยู่ เพื่อบำเพ็ญสมณธรรม"

(โปรดติดตามตอนต่อไป)

 


Warning: Parameter 2 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

Warning: Parameter 3 to modChrome_artnostyle() expected to be a reference, value given in /home2/mybaacor/public_html/templates/sumter_blue/html/modules.php on line 36

ป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์
ขออนุโมทนาและขอบคุณญาติโยมที่ร่วมบริจาคสร้างป้ายชื่อของวัดป่าซัมเตอร์ ขอให้ทุกท่านจงมีความสุขความเจริญตลอดไป...