Sumter Forest Temple, U.S.A.
น้ำท่วมกาย..ไม่ร้ายเเรงเท่าน้ำท่วมใจ
น้ำท่วมกาย..แต่อย่าให้น้ำท่วมใจ สำหรับคนไทยที่กำลังประสบมหาอุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่ หลายหน่วยงาน หลายองค์กรต่างช่วยเหลือกัน ในยามที่บ้านเมืองวิกฤต ได้เห็นน้ำใจของคนไทยที่ยังมีเมตตาจิตต่อเพื่อนร่วมทุกข์ การช่วยเหลือคนที่กำลังเดือดร้อนจากภัยน้ำท่วมในครั้งนี้ เป็นการสร้างบารมี สร้างบุญให้ตัวเอง.. หลายชีวิตที่ต้องการความช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร น้ำดื่ม เสื้อผ้า ที่พักอาศัย ยารักษาโรค เป็นต้น อย่าปล่อยให้คนเหล่านี้ สิ้นหวัง หมดกำลังใจ ท้อแท้ ภาครัฐควรเข้าไปดูแล ช่วยเหลือ
สถานการณ์อย่างนี้ ภาครัฐ ภาคเอกชน ต้องร่วมมือกันแก้ปัญหา ช่วยเหลือชาวบ้านที่เดือดร้อน น้ำท่วมครั้งนี้คลอบคลุมหลายจังหวัด ถือได้ว่าเป็นน้ำท่วมครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ชาติไทย อย่างไรก็ตาม ภัยพิบัติครั้งนี้ ไม่เท่าใจวิบัติ หลายคนยังเห็นแก่ตัวทำลายพนังกั้นน้ำ ทะเลาะ ด่า โกรธกันและกัน ขอร้องทุกฝ่ายหยุดทะเลาะกันได้แล้ว ควรสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือกัน วางแผนระยะยาว หลังน้ำลด จะฟื้นฟูประเทศอย่างไร
รายรับ-รายจ่าย กฐินสามัคคี 2011
รายรับ $ 12,109.99
Cash $ 7,727.00 / Check $ 4,382.99
รายจ่าย $ 1,800
ยอดเงินคงเหลือ $ 10,309.99
ด้วยบุญกุศลที่คณะญาติโยมได้ทำบุญกฐินสามัคคีในครั้งนี้ ขอให้ทุกท่านจงอยู่ดีมีอยู่ อยู่เย็นเป็นสุข มั่งมีศรีสุข ปรารถนาสิ่งหนึ่งประการใดที่ประกอบด้วยธรรมเเล้วไซร้ ขอความคิดนั้นปรารถนานั้นจงสำเร็จๆทุกประการเทอญ
ประวัติความเป็นมา "กฐิน"
ประวัติของกฐินนั้นมีอยู่ว่า ครั้งหนึ่งภิกษุชาวเมืองปาฐา ประมาณ ๓๐ รูป มีความประสงค์จะไปเฝ้าพระพุทะเจ้า ณ เมืองสาวัตถี จึงพากันเดินทางจากเมืองปาฐาไปสาวัตถี แต่พอไปถึงเมืองสาเกต ซึ่งอยู่ในระยะทางอีก ๖ โยชน์จะถึงสาวัตถี ก็เผอิญถึงวันเข้าพรรษาภิกษุเหล่านั้นจะเดินทางต่อไปไม่ได้ จึงจำพรรษาอยู่ในเมืองสาเกต ในระหว่างจำพรรษามีความร้อนรนอยากเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยเร็ว พอออกพรรษาก็ออกเดินทางจากเมืองสาเกต ในเวลานั้นฝนยังตกมากอยู่ ทางเดินก็เป็นโคลนตมเปรอะเปื้อน เมื่อมาถึงเมืองสาวัตถีได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าทรงทราบความลำบากของพระภิกษุเหล่านั้น จึงทรงอนุญาตให้พระภิกษุทำพิธีกรานกฐิน ในระยะเวลาภายหลังวันออกพรรษาแล้วไป ๑ เดือน ภิกษุที่ได้ทำพิธีกรานกฐินแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือความยกเว้นในการผิดวินัย ๕ ประการ เป็นเวลา ๔ เดือน (หมดเขตในวันเพ็ญเดือนสี่) อานิสงส์หรือความยกเว้นทั้ง ๕ ประการนั้น คือ
- ๑.เข้าบ้านได้โดยไม่ต้องลาภิกษุด้วยกัน
- ๒.เดินทางโดยไม่ต้องเอาไตรจีวรไปด้วย
- ๓.ฉันอาหารโดยล้อมวงกันได้
- ๔.เก็บอาหารที่ยังไม่ต้องการใช้ไว้ได้
- ๕.ลาภที่เกิดขึ้นให้เป็นของภิกษุผู้จำพรรษาในวัดนั้นซึ่งได้กรานกฐินแล้ว
ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน ๑ เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ขาดพรรษาเลย ไม่ต่ำกว่า ๕ รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ ๑ ครั้ง
การทอดกฐินเป็นกาลทาน ตามพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๑ ถึงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒ ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส ใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน
กฐินแปลว่าอะไร?
คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อนแล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มี ความชำนาญเหมื่อนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอเหมือนจักรเย็บผ้า ในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ถ้าภิกษุทำเอง ก็จัดเป็นงานเอิกเกริกทีเดียว เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า การเย็บจีวรนั้น พระเถรานุเถระต่างมาช่วยกัน ในการเย็บจีวร อุบาสกอุบาสิกาก็จัดหาน้ำดื่มเป็นต้น มาถวายพระภิกษุสงฆ์ มีองค์พระสัมมาสัมพุทธะเป็นประธาน โดยนัยนี้ การเย็บจีวรแม้โดยธรรมดา ก็เป็นการต้องช่วยกันทำหลายผู้หลายองค์ (ไม่เหมือนในปัจจุบัน ซึ่งมีจีวรสำเร็จรูปแล้ว)
KATHINA CEREMONY
Annual 'Kathina' Robe Offering Ceremony
Sunday, October 16, 2011
Sumter Forest Temple, Sumter, SC
Kathina is the annual robe offering season for the monks. At the end of the Buddhist Lent period, it is time for the monks in the monasteries to get the new set of their robes. The set contains 3 distinct pieces, thus: 1.The outer robe 2. The sarong-like garment 3. The shoulder robe (blanket)
The word 'Kathina' itself refers to the wooden frame that hold tight the saffron clothes enabling monks sew them firm and neat. Kathina tradition was originated during the Lord Buddha's time. It first happened when a group of 30 monks were on the way to meet Lord Buddha.
Unfortunately, they got stuck on the way in the rain. Through the muddy passage, their robes were dirty and shabby with mud. As a result, Lord Buddha granted permission for monks who completed their 3-month rains retreat to have a new set of saffron, so called "Kathina." The period permitted is within one month after the lent period ends. Thus, Kathina is a time-limit opportunity for the robe offering.
At Sumter Forest Temple, this year, the Kathina Ceremony falls on October 16, 2011. Enjoy this day with all activities in meritorious atmosphere. we will meditate together before giving lunch to monks. The highlight would be in the afternoon when all the Buddhist assembly will participate in the Kathina Robe Offering Ceremony.
Schedule
10.00 am Participants are expected to get ready in the holy hall
10.15 am Chanting in Pali
10.45 am Alms-Giving Ceremony
11.15 am Lunch break, lay people offer foods to monks
12.00 am Thai dance, Thai boxing show, Thai foods
01.00 pm Dharma talk
01.30 pm Joining the Robe Offering Ceremony
02.00 pm Monks give blessing/The ceremony is over
วัดรัตนวนารามไม่ได้เกี่ยวข้องกับคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา
ช่วงนี้มีหลายคนบิดเบือนข่าวว่า การเปลี่ยนชื่อวัดรัตนวนาราม เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย เพราะไม่ได้รับความเห็นชอบจากพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่ทำหน้าที่ปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา เพราะอ้างถึงวัดรัตนวนารามเคยขอเข้าไปอยู่ในเครือของคณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกามาในอดีต การกล่าวอ้างดังกล่าวเป็นการบิดเบือนข้อมูลที่แท้จริง ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด และสร้างความเสียหายให้แก่วัดรัตนวนาราม (ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Sumter Forest Temple)
ในฐานะผู้มีอำนาจในการบริหารจัดตามกฎหมาย จึงขอชี้แจงว่า คณะสงฆ์ธรรมยุตในสหรัฐอเมริกา หรือภายใต้ชื่อว่า "The Dhammayut Order in The United States of America เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลในมลรัฐแคลิฟอร์เนีย เมื่อวันที่ 30 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2535 (October 30, 1992) มีสำนักงานดังกล่าวตั้งอยู่ที่ 13560 MUUTAMA LN, PO BOX 1409, VALLEY CENTER, CA 92082 ดังรายละเอียดด้านล่าง
คำแปลของธรรมนูญบริษัท
คนส่วนใหญ่ที่มาร่วมกิจกรรมต่างๆ ของวัด มักจะเข้าใจผิดว่า วัดในสหรัฐอเมริกาเหมือนกับวัดที่เมืองไทย และกฎหมายไทยและพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่มีอำนาจปกครอง สามารถเข้ามาก้าวก่ายการบริหารวัดของวัดในสหรัฐอเมริกาได้ ในความเป็นจริงแล้ว วัดแต่ละวัดเป็นนิติบุคคลที่มีการจดทะเบียนเป็นเอกเทศ และเมื่อจดทะเบียนแล้ว จะดำเนินกิจการได้ภายในรัฐนั้นๆ เท่านั้น หากจะดำเนินกิจการขยายสาขาไปต่างรัฐ ต้องยื่นเอกสารขอจัดตั้งเปิดสาขากับรัฐนั้นๆ และรายงานให้ Internal Revenue Service ทราบด้วย พระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ กฎมหาเถรสมาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการปกครองคณะสงฆ์ จึงไม่สามารถเข้ามาก้าวก่ายได้ ยกเว้นจะเป็นผู้จดทะเบียนและมีอำนาจในการบริหารวัดนั้นๆ เท่านั้น หากวัดทั้งหลายจะร่วมมือกันตามกฎหมาย จะต้องมีข้อตกลงกันและเซ็นหนังสือบันทึกความเข้าใจระหว่างองค์กร (Memorandum of Understanding) ว่าจะร่วมมือกันในด้านใดบ้าง
ดังนั้น วัดแต่ละวัดมีความเป็นอิสระจากกันเด็ดขาด ไม่มีความเกี่ยวข้องกันและไม่สามารถก้าวก่ายการบริหารของกันได้ วัดจะดำเนินการภายใต้กฎหมายสำหรับองค์กรการกุศลของรัฐบาลท้องถิ่นและรัฐบาลกลาง เมื่อวัดได้ยื่นขอยกเว้นภาษีรายได้ต่อรัฐบาลกลางแล้ว ต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมืองอย่างเด็ดขาด และไม่ระดมทุนๆ จากกิจกรรมต้องตามตามบทบัญญัติของประมวลรัษฎากรภายในของรัฐบาลกลาง และเมื่อยกเลิกกิจการ ต้องถ่ายโอนทรัพย์สินให้แก่รัฐบาลกลางหรือรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์สาธารณะ หรือให้แก่องค์กรการกุศลที่มีลักษณะเดียวกัน ที่ได้รับการยกเว้นภาษีและจัดตั้งขึ้นมาเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ต่อนี้คือคำแปลธรรมนูญบริษัท ของวัดป่าซํมเตอร์ ซึ่งจะต้องมีบทบัญญัติที่เป็นสาระสำคัญตามเงื่อนไขขององค์กรที่ได้ยกเว้นภาษีรายได้ ตามประมวลรัษฎากรภายใน มาตารา 501 (C) (3) ซึ่งวัดในสหรัฐอเมริกาทุกวัด ก็จะมีข้อความที่คล้ายกัน ต่างแต่ชื่อของศาลที่เข้ามามีอำนาจในการสั่งกระจายสินทรัพย์เท่านั้น หลายคนอาจจะแปลกใจว่าทำไมใช้คำว่าบริษัท ไม่ใช่วัด เพราะตามกฎหมายของสหรัฐอเมริกา วัดทุกวัดมีสถานะเป็นบริษัท แต่เป็นประเภทไม่แสวงหาผลกำไร (Nonprofit Corporation) ไม่มีจำนวนหุ้น และผู้ถือหุ้น ซึ่งแตกต่างจากบริษัทที่แสวงหาผลกำไร (Mutual Corporation)
เอกสารการอนุมัติยกเว้นภาษีทรัพย์สิน
หลังจากได้ทำการเปลี่ยนชื่อวัดใหม่ คณะกรรมการบริหารวัดได้ดำเนินโอนถ่ายกรรมสิทธิ์ที่ดิน (Quit Claim Deed) ทุกอย่างของ Wat Rattanavanaram (วัดรัตนวนาราม) ไปเป็นของ Sumter Forest Temple (วัดป่าซัมเตอร์) ถูกต้องตามกฎหมาย โดยประธานกรรมการบริหารได้มอบอำนาจให้กรรมการบริหารสองท่าน คือ พระมหาภูริภัทร์ สุทาศิริ และคุณทองตา ออสติน เป็นพยานผู้มีอำนาจลงนามแทน หลังจากนั้น ได้ทำการส่งเอกสารการโอนย้ายที่ดิน (Quit Cliam Deed) เอกสารใบเว้นเว้นภาษี (IRS Tax Exemption) เอกสารธรรมนูญการเปลี่ยนชื่อวัด (Restated Articles of Incorporation) และระเบียบบริหารวัด (Bylaws) ให้แก่ SC Department of Revenue หรือกระทรวงการคลัง ของมลรัฐเซาท์ แคโรไลน่า เพื่อขอยกเว้นภาษีทรัพย์สิน (Property Exemption)